ภาษาอีสานหมวด "ค" 541 - 550 จาก 975

  • เครา
    แปลว่า : ขนที่เกิดตามแก้มหรือขากรรไกรเรียก เครา.
  • เครา
    แปลว่า : เชือกที่ใช้ร้อยจมูกวัวควาย ร้อยจมูกวัวเรียก เครางัว ร้อยจมูกควายเรียก เคราควาย อย่างว่า ผูกควายใส่หีนลาด เคราบ่ขาดควายกะตาย (ภาษิต).
  • เครา
    แปลว่า : เครื่องใช้สอยโบราณ เรียก เครื่องเครา อย่างว่า สะพรั่งพร้อมพราหมนาสปโรหิต เฮียงมือประดับอ่านพรถวายถ้อย มุนนายพร้อมถวายเทียนทูลบาท เสด็จเลิกแล้วคาเมี้ยนเครื่องเครา (สังข์).
  • เคร่า
    แปลว่า : เดินชะลอ การเดินรอกันให้คนหนึ่งเดินออกหน้าคนหนึ่งเดินตามหลังเรียก ย่างเคร่า ย่างค่าว ก็ว่า.
  • เครือ
    แปลว่า : ไม้เถา เรียก เครือ เช่น เครือหวาย เครือหมากยาง เครือหม้วย.
  • เครือ
    แปลว่า : เสียงแตกเรียก เสียงเครือ ชายหญิงที่อายุย่างเข้าวัยหนุ่มสาว เสียงจะเปลี่ยนจากเด็กเป็นผู้ใหญ่ ในระยะเสียงแตกนี้เรียก เสียงเครือ อย่างว่า เครือเครือเสียงนางแสงส่องคดีดูเผี้ยน (ฮุ่ง).
  • เครือกล้วย
    แปลว่า : ผลของกล้วยเป็นหวีๆ รวมทั้งงวง เรียก เครือกล้วย อย่างว่า กุทเลสกล้วยลำดั้วก่องเครือ (กา).
  • เครือหูก
    แปลว่า : ไหมหรือด้ายที่เป็นทางยาวของหูก เรียก เครือหูก.
  • เคล้า
    แปลว่า : ปน ระคน สิ่งที่ปนระคนกันเรียก เคล้า อย่างว่า อึงคะนึงเคล้าคณาหลวงไหลฮอด (สังข์).
  • เควี่ยง
    แปลว่า : ขว้าง ปา เหวี่ยงขว้างมะม่วงให้หล่นลงมาเรียก เควี่ยง คว้าง แม่น ก็ว่า.