ภาษาอีสานหมวด "ค" 521 - 530 จาก 975

  • คูถ
    แปลว่า : อุจจาระ (ป.).
  • คูน
    แปลว่า : ชัยพฤกษ์ ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ดอกสีเหลือง เป็นไม้เศรษฐกิจ ดอกสวยงามเหลืองอร่าม ใช้ประดับและบูชาพระ แก่นใช้เคี้ยวหมาก เรียก ต้นแก่นคูน.
  • คูน
    แปลว่า : ชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีเกล็ดตัวสั้นและใหญ่ เรียก ปลาคูน.
  • คูน
    แปลว่า : พูน นำดินมาถมเป็นคันเรียก คูน เช่น คูนถนน คูนคันแทนา คูนหลุม คูนลาน เป็นต้น.
  • คูบ
    แปลว่า : กระดูกที่นูนขึ้นบนสันหลังด้านหน้าเรียก คูบ ของวัวเรียก คูบงัว ของควายเรียก คูบควาย ของช้างเรียก คูบช้าง อย่างว่า คูบช้างใส่ดาวคำ ลำตัวให้ประดับแก้ว (เวส).
  • คูบ
    แปลว่า : ครอบ กระเบื้องงอๆ ทับหลังคาหรือไม้กระดานสองแผ่นตีติดกัน ใช้ทับหลังคา เรียก คูบหลังคา.
  • คูหา
    แปลว่า : ถ้ำ (ป.). อย่างว่า ที่นั้นมีถ้ำแก้วเฮียงฮาบคูหา เป็นเพื่ออินตาทานแต่งปุนประดับไว้ พระก็พาอาเข้าคูหาถ้ำแอ่นมีทังพาโภชพร้อมเทวะท้าวป่าวปลง (สังข์) ชาติที่คูหาห้องราชสีห์เทียวท่อง บ่ห่อนละถิ่นไว้หนีไปซ้นป่าคา (ลึบ).
  • เค
    แปลว่า : เก คนที่ขาเกคือขาข้างหนึ่งสั้น ข้างหนึ่งยาว เรียก คนขาเค.
  • เค็ง
    แปลว่า : เข็ง ชื่อพรรณไม้เนื้อแข็งชนิดหนึ่งมีผลเล็กเป็นพวง เวลาสุกผลดำ กินเป็นอาหารได้ เรียก หมากเค็ง อย่างว่า เค็งเค็งฮ้องกลางดงช้างบ่ตื่น คื่นคื่นฮ้องกลางบ้านบ่ได้ยิน (ปัญหา).
  • เค่ง
    แปลว่า : เคร่ง ตรง ตรงต่อระเบียบเรียก เค่งคัด คัดเค่ง ก็ว่า หน้าไม่ยิ้มแย้มแจ่มใสเรียก หน้าเค่ง โกรธจัดเรียก เคียดเค่ง อย่างว่า โขโนฮ้ายฟุงฟายเคียดเค่ง (กา).