ภาษาอีสานหมวด "ค" 501 - 510 จาก 975

  • คุ้ม
    แปลว่า : ส่วน ตอน กลุ่ม บ้านเมืองที่ใหญ่โตกว้างขวาง แบ่งเขตการปกครองออกเป็นกลุ่ม แต่ละกลุ่มเรียก คุ้ม เช่น คุ้มเหนือ คุ้มใต้ คุ้มตะวันออก คุ้มตะวันตก คุ้มกลาง เป็นต้น.
  • คุ้ม
    แปลว่า : ใกล้ ค่อน เวลาใกล้รุ่ง เรียก คุ้มฮุ่ง อย่างว่า แซวแซวฮ้องยูงแงวคุ้มฮุ่ง (หน้าผาก).
  • คุ้ม
    แปลว่า : กลุ้มใจ อย่างว่า บิดาคุ้มคนิงทวงฮีฮ่ำ (หน้าผาก).
  • คุมคาม
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงหมาวิ่งไล่เนื้อในป่า อย่างว่า คุมคามเต้นในดงลัดไล่ เนื้อตื่นเต้นหนีลี้หลีกไกล (สังข์).
  • คุมบาตร
    แปลว่า : บิณฑบาต บิณฑิบาต ธรรมเนียมของพระสงฆ์เวลาเช้าออกโปรดสัตว์ด้วยการนุ่งสบงทรงจีวร มือถือบาตร เรียก พระไปคุมบาตร.
  • คุมพะ
    แปลว่า : พุ่มไม้ ต้นไม้พุ่มเรียก คุมพะ อย่างว่า ปวิสิตวา เข้าไปโดยพลัน วะนะคุมพัง สู่ป่าไม้แลหนามดิน (เวส).
  • คุย
    แปลว่า : พูดอวด การพูดอวดอ้างว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ เรียก คุย อย่างว่า อย่าได้โวโวคุยนั่งชานงอยเว้า คันได้เป็นนายแล้วอย่าลืมคุณพวกไพร่ คันหากไพร่บ่พร้อมสีหน้าบ่ฮุ่งเฮือง (ย่า).
  • คุ้ย
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ผลกลมสีเขียว เวลาสุกสีเหลือง มียางรสเปรี้ยวอมหวาน เรียก หมากคุ้ย หมากยาง ก็ว่า.
  • คุ้ย
    แปลว่า : อาการผุดขึ้นมาหายใจของปลา เรียก บ้อนคุ้ย.
  • คุ้ย
    แปลว่า : เขี่ย ตัก การใช้เสียมหรือพลั่วตักดินขึ้นปั้นคันนา เรียก คุ้ยดินป้านคันนา.