ภาษาอีสานหมวด "ค" 641 - 650 จาก 975

  • โค็ยเกวียน
    แปลว่า : เพลาเกวียน เพลาที่สอดเข้าในดุมเกวียน เรียก โค็ยเกวียน.
  • โค็ยงู
    แปลว่า : ชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง มีฝักขึ้นตามลำต้น เรียก หญ้าโค็ยงู มีสองชนิดคือ ชนิดเล็กเรียก หญ้าโค็ยงูน้อย ชนิดใหญ่เรียก หญ้าโค็ยงูใหญ่ หญ้าชนิดนี้ใช้ทำยาและแก้งูกัดได้.
  • โค็ยตาล
    แปลว่า : งวงตาล งวงของต้นตาลเรียก โค็ยตาล โค็ยตาลเผาเป็นด่างย้อมผ้าได้ และกรองเอาน้ำตาลได้.
  • โค็ยมอน
    แปลว่า : หางไหล ชื่อพรรณไม้พุ่มชนิดหนึ่ง เรียก ต้นโค็ยมอน.
  • โครง
    แปลว่า : ร่าง กระดูก อย่างว่า สูนี้คือคู่กาโกแฮ้งโฮมโครงควายเน่า ฮู้ว่าโฮมเฮ่วไว้ มาม้วยเทื่อเดียว แลนอ (สังข์).
  • โครง
    แปลว่า : โคลง คำประพันธ กลอนที่แต่งเรียก โครงสาร อย่างว่า กบเขียดมากล่าวอ้าง ประสงค์อ่านโครงสาร ฝูงหมู่งูเพาพิษเยือกกลัวเกรงย้าน หีนฟูน้ำนทีหลวงไหลล่อง ปลาบึกขึ้นอยู่ลี้ปลายไม้ดั่งแลน ปูปลามาเปิดน้ำหนีจากวังใส มันก็แยงภูผาป่าไพรพนอมไม้ (ปัสเสน).
  • โคร่ง
    แปลว่า : เสือโคร่ง ชื่อเสือชนิดหนึ่งมีลายพาดตามตัว เรียกเสือโคร่ง เสือลายพาดกอน ก็ว่า อย่างว่า ตนหนึ่งทำตนให้แปลงเป็นเสือโคร่ง คะโยงแล่นเต้นตันไว้ปล่องทาง (เวส-กลอน).
  • โครพ
    แปลว่า : เคารพ การแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตัว เรียก โครพ คบรพ คำรพ เคารพ ก็ว่า.
  • โคลง
    แปลว่า : โยก คลอน ฟันโยกเรียก แข้วโคลง แข้วคลอน แข้วไคว ก็ว่า.
  • โคศัพท์
    แปลว่า : วิธีหารแบบโบราณ โดยมีตัวหารตั้งแต่สองตำแหน่งขึ้นไป เรียก โคศัพท์ มีโคศัพท์สอง โคศัพท์สาม เป็นต้น.