ภาษาอีสานหมวด "ค" 621 - 630 จาก 975

  • โคจร
    แปลว่า : การเดินแบบโค คือเดินไปไม่มีจุดหมายปลายทาง เรียก โคจร อย่างว่า เฮาจักโคจรดั้นเดินนำน้องนาถ ดั้นฮอบบ้านหลายชั้นสืบดู (สังข์).
  • โคด
    แปลว่า : ข้าวโพด ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มีฝัก ใช้กินแทนข้าวได้ จะเป็นเพราะมันเกิดก่อน และใช้กินแทนข้าวได้นี้กระมัง คนโบราณจึงเรียก เข้าโคด หรือ โคตรเข้า.
  • โคด
    แปลว่า : คับใจ ขัดใจ อย่างว่า มโนโคดแค้นทวงท้นเปลี่ยวใน (ผาแดง).
  • โคด
    แปลว่า : แตก กระจัดกระจาย อาการที่ภูเขาแตกกระจัดกระจายเรียก โคด อย่างว่า ฝังยินผาโคดค้านแผ้วเผี้ยนเกลื่อนกอง (สังข์).
  • โคด
    แปลว่า : ตี ตีฆ้องเรียก โคดฆ้อง อย่างว่า ค้อนโคดไค้กลองฆ้องโฮ่หัว (ฮุ่ง).
  • โคดโลด
    แปลว่า : สิ่งของที่กลมใหญ่และยาวเรียก ยาวโคดโลด ถ้าเล็กและยาวเรียก ยาวคอดลอด.
  • โคตร
    แปลว่า : วงศ์ ตระกูล เผ่าพันธุ์ เหล่า กอ คนที่เกิดก่อนโดยฐานะเป็นทวด ปู่ ย่า ตา ยาย เรียก โคตร เจ้าโคตร ก็ว่า.
  • โคธา
    แปลว่า : เหี้ย (ป.ส.). อย่างว่า ใผบ่เห็นฮ่อมเลี้ยวลิ้นไคว่โคธา มโนจรจักแจบพลอยพอปลื้ม บิดาเพี้ยงเพิงแพงเพียงพระเนตร เหมือนดั่งบุญแบ่งชั้นเซ็งท้าวทั่วนคร (สังข์).
  • โค่น
    แปลว่า : ล้ม ไม้ที่ล้มหรือทำให้โลกเรียก ไม้โค่น อย่างว่า มีหมู่ไม้โค่นค้านผาขั้นหมื่นแถว (สังข์).
  • โค้น
    แปลว่า : ท่อนไม้ ขอนไม้ เรียก โค้นไม้ ข้าวต้มที่มัดรวมกันสามกลีบ เรียก เข้าต้มโค้น เนื้อแห้งที่มัดรวมกันเรียก ซี้นโค้น อย่างว่า ผักกะโดนกินกับซิ้นโค้น ย่าเสื่องไว้ลูกใภ้ลักกิน (สอย).