ภาษาอีสานหมวด "จ" 131 - 140 จาก 719

  • จอมไตร
    แปลว่า : ผู้เป็นใหญ่ในไตรภพ คือ มนุษย์โลก เทวโลก และพรหมโลก เรียก จอมไตร อย่างว่า มึงจ่งไปทูลท้าวจอมไตรตนอาจ บอกว่าเฮียมใคร่ได้บุญเกื้อเกิดเทียม ว่าเนอ (ฮุ่ง)
  • จอมทนง
    แปลว่า : ผู้องอาจกล้าหาญ เรียก จอมทนง อย่างว่า ผลควรท้าวจอมทนงนำเฮียก หกพี่น้องฟังชั้นชื่นใจ (สังข์).
  • จอมทอง
    แปลว่า : ลูกรัก เรียก จอมทอง อย่างว่า แม่บ่คองเห็นเจ้าจอมทองเท้าชั่ว จริงแล้ว บัดนี้บุญแบ่งแท้โพยฮ้ายฮอดดี แม่แล้ว (สังข์).
  • จอมไท้
    แปลว่า : เจ้าเมือง เจ้าเมืองเรียก จอมไท้ อย่างว่า เขากล่าวถ้อยเสงว่าหลายประการ บุรีเลียนมอบเจืองจอมไท้ (ฮุ่ง).
  • จอมธรรม
    แปลว่า : ผู้ทรงทศพิธราชธรรม เรียก จอมธรรม อย่างว่า เมื่อนั้นจอมธรรมพระพ่อพระยาเยืองถ้อย ดูราทังหกไท้บุตตาตนลูก พ่อคึดใคร่เจ้าพี่น้องเทียนฮ้อยฮอดอินทร์ แท้แล้ว (สังข์).
  • จอมนาฏ
    แปลว่า : นางงาม นางงามเรียก จอมนาฏ อย่างว่า เมื่อนั้นออระใหม่หน้าจอมนาฏนางจันทร์ เฮียงมารดาประดับเครื่องคอเพิงม้าว (สังข์).
  • จอมปรางค์
    แปลว่า : หมายถึง ศิลป์ชัย อย่างว่า เมื่อนั้นจอมปรางค์ซ้อยสังข์ทองพร้อมพี่ บาก็แต้มแต่งใช้ปืนตั้งต่าวคืน (สังข์).
  • จอมมิ่ง
    แปลว่า : ผู้เป็นที่พึ่งเรียก จอมมิ่ง อย่างว่า ลือเดชเจ้าจอมมิ่งมาเถิง แลรือ มิคากุมภัณฑ์วางสองศรีส่งเฮาโอมให้ ดีรือ (สังข์).
  • จอมเมือง
    แปลว่า : นางสุมณฑา นางสุมณฑา เรียก จอมเมือง อย่างว่า จอมเมืองเจ้าใจฮมฮักไพร่ สนุกอยูหลิ้นไพรกว้างม่วนระงม (สังข์).
  • จอมราช
    แปลว่า : เจ้าเมือง เจ้าเมือง เรียก จอมราช อย่างว่า เมื่อนั้นเสนาเจ้าคนิงใจจอมราช คึดว่าเด็กอ่อนน้อยใจกล้ากล่าวแข็ง แท้นอ (สังข์).