ภาษาอีสานหมวด "จ" 221 - 230 จาก 719
-
จาร
แปลว่า : เหล็กแหลมที่ตอกเข้าในไม้แก่น ซึ่งทำเหมือนด้ามปากกา ใช้สำหรับเขียนหนังสือในใบลานหรือใบตาล เรียก เหล็กจาร. -
จาร
แปลว่า : การเขียนหนังสือด้วยเหล็กจาร เรียก จารหนังสือ. -
จารย์
แปลว่า : ชื่อเกียรติยศที่ได้จากสมณเพศ มาจากคำว่าอาจารย์ รายละเอียดดูได้จากเรื่อง กองฮด -
จาว
แปลว่า : สิ่งที่งอกอยู่ในผลไม้ มีรสอร่อย เรียก จาว ในผลมะพร้าวเรียก จาวหมากพร้าว ในผลตาลเรียก จาวหมากตาล. -
จาว
แปลว่า : หยุด ยกเลิก เช่น การเล่นกีฬาเมื่อเล่นผิดกติกาให้หยุดให้เลิก เรียก เล่นจาว. -
จาว
แปลว่า : เริ่มคลี่ จวนจะบาน ดอกไม้กำลังจะบานเรียก จาว อย่างว่า จูมจีเจือจาวจ่อ ประชิดช้องช่อลายวรรณ (เวส). -
จ่าว
แปลว่า : ป่าว ประกาศ โฆษณา การป่าวประกาศให้มาประชุม หรือ่วมบำเพ็ญบุญเรียก จ่าว อย่างว่า ตางให้เป็นเครื่องต้อนนงหน้าจ่าวหา (ผาแดง). -
จ้าว
แปลว่า : ชื่อพรรณข้าวจำพวกหนึ่ง มีสองชนิด คือ ข้าวเหนียว และข้าวจ้าว เข้าเจ้า ก็ว่า อย่างว่า เข้าเหนียวกับเข้าเจ้า ปนกันบ่มีเบื่อ คือดั่งเชื้อพี่น้องปนได้แฮ่งมัน (บ.). -
จ้าวจ้าว
แปลว่า : อาการปวดระบม ปวดระบมเรียก ปวดจ้าวจ้าว อย่างว่า ปวดจ้าวจ้าวคือผ้ำบ่มหนอง (บ.). -
จ่าวล่าว
แปลว่า : จืด ชืด ไม่มีรส เช่น อาหารที่ปรุงไม่ครบ ขาดเกลือหรือปลาแดกน้อยไป เรียก จางจ่าวล่าว.