ภาษาอีสานหมวด "จ" 451 - 460 จาก 719
-
แจ่ง
แปลว่า : มุม แจ ขอบ แจบ้านเรียก แจ่งบ้าน แจเมืองเรียก แจ่งเมือง อย่างว่า ชิเอาผัวเอาเมียให้ถามสี่แจ่งแจบ้าน ชิต้านชู้ให้ถามสี่แจ่งแจเมือง (ภาษิต). -
แจ้ง
แปลว่า : ต้นแจง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งใบเล็กเป็นร่มหนา คล้ายต้นตะไคร่น้ำ เรียก ต้นแจ้ง. -
แจ้ง
แปลว่า : แจ้ง สว่าง พระอาทิตย์สว่างเรียก ตาวันแจ้ง ตาเว็นแจ้ง ก็ว่า คนตาบอดใสเรียก ตาบอดแจ้ง อย่างว่า ตาบอดแจ้งบ่ฮู้ฮ่อมทางเดิน คันบ่แยงเงาหีน ชิบอดตายเท้าเถ้า (ภาษิต). -
แจ้ง
แปลว่า : บอก แสดง บอกให้รู้ว่าการทำนั้นจะผิดหรือถูก เรียก แจ้งความ. -
แจ่งแจ๊ะ
แปลว่า : อาการยืนของเด็กเล็ก เรียก ยืนแจ่งแจ๊ะ. -
แจ่งแฮ่ง
แปลว่า : ใบไม้ที่ถูกแมลงกัดเหลือแต่ก้าน เรียก แจ่งแฮ่ง. -
แจ้ด
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงเลื่อยไม้แผ่นบางๆ ดังแจ้ด. -
แจ๊ด
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น เสียงนกกาแวนร้อง. -
แจ้น
แปลว่า : ชื่อจานเล็กชนิดหนึ่งใช้รองถ้วยน้ำชา. -
แจนแจน
แปลว่า : เสียงคนจำนวนมากพูดคุยกันเรียก แจนแจน อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทฮู้ท้าวท่านทังหก แจนแจนจากล่าวเชียงชมต้าน เฮานี้ชายเซ็งด้ามโดยลางรือต่าว เป็นเด การไป่เสี้ยงสมเบื้องบ่คืน ง่ายแล้ว (สังข์).