ภาษาอีสานหมวด "จ" 471 - 480 จาก 719

  • แจะ
    แปลว่า : จิบ ชิม ลิ้มรส เช่น ชิมเกลือเรียก แจะเกลือ ชิมป่นเรียก แจะป่น ชิมแจ่วเรียก แจะแจ่ว.
  • แจ๊ะแก๊ะ
    แปลว่า : อาการที่เด็กนั่งถ่างขาออกนิดหน่อย เรียก นั่งแจ๊ะแก๊ะ.
  • แจะแจะ
    แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น คนเคี้ยวอ้อยเสียงดังแจะแจะ อย่างว่า แจะแจะแล้วดังมาโตะต่ง นึกว่าดีขนาดแท้เถถิ้มถ่ายเสีย (เสียวสวาสดิ์).
  • โจ่
    แปลว่า : จ่อไว้ห่างๆ เช่น ยกมือขึ้นจะตี แต่ไม่ตีจ่อไว้ห่างๆ เรียก โจ่ จ้อ ก็ว่า.
  • โจ้
    แปลว่า : ข้าวต้มที่ใส่น้ำมากๆ เรียก ต้มเข้าโจ้ อย่างว่า คันได้กินเข้าโจ้อย่าโงจ้ำแจ่วบอง (บ.).
  • โจ้
    แปลว่า : ถกเถียงกัน การถกเถียงกันเรียก โจ้กัน โสกัน ก็ว่า อย่างว่า กินเข้าโต อย่าโสความเพิ่น (ภาษิต).
  • โจก
    แปลว่า : แก้วน้ำ กระบอกสำหรับใส่น้ำเรียก โจก ทำด้วยไม้ไผ่เรียก โจกไม้ไผ่ ทำด้วยแก้วเรียก โจกแก้ว จะใช้ตักน้ำหรือตักเหล้ากินก็ได้.
  • โจก
    แปลว่า : หัวหน้า คนผู้เป็นหัวหน้าเรียก โจก หัวโจก ก็ว่า อย่างว่า แต่นั้นออระม่อยหน้าแมนโจกชมคดี ยอมือทูลเหนือหัวกล่าวทางทุกค้าย (ฮุ่ง).
  • โจก
    แปลว่า : ชื่อปลาเกล็ดชนิดหนึ่ง คล้ายปลาจอกแต่ตัวใหญ่กว่า เรียก ปลาโจก.
  • โจก
    แปลว่า : ทีหลัง หลังสุด ล่าสุด ใช้สำหรับเล่นการพนัน คนผู้มีสิทธิ์เล่นคนสุดท้ายเรียก โจก.