ภาษาอีสานหมวด "จ" 481 - 490 จาก 719
-
โจ้กโจ้ก
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น น้ำตกจากภูเขาเสียงดังโจ้กโจ้ก หรือน้ำตาไหลก็เรียก ไหลโจ้กโจ้ก อย่างว่า น้ำตามันก็ไหลตกลงมาอยู่โจ้กโจ้ก (เวส) ฝนตกห้งไหลโฮมต่บ่อนขุม บ่อนใดสวดจุ้มบุ้มฝนโจ้กก็บ่ขัง (กลอน). -
โจกโจ้น
แปลว่า : สูงโย่ง คนผู้มีลักษณะสูงโย่ง เรียก สูงโจกโจ้น สูงโค้งโย้ง ก็ว่า. -
โจกโพก
แปลว่า : เส้นผมบนศรีษะขาวทุกเส้นเรียก หัวขาวโจกโพก. -
โจกโหลก
แปลว่า : ที่ลุ่มซึ่งเป็นแอ่งใหญ่ เรียก ขุมโจกโหลก. -
โจ้โก้
แปลว่า : ข้าวของที่กองรวมกันจำนวนมากและสูง เรียก สูงโจ้โก้. -
โจ่โค่
แปลว่า : อาการที่ผู้ใหญ่นั่งจับเข่า เรียก นั่งโจ่โค่. -
โจ่งแจ้ง
แปลว่า : เปิดเผย ไม่ปิดบัง การทำหรือการพูดที่ไม่มีปิดบัง ทำให้ผู้เห็นหรือผู้ฟังมองเห็นทุกด้านทุกมุม เรียก โจ่งแจ้ง. -
โจ่งโจะ
แปลว่า : อาการที่ยืนถ่างขาออกกว้างเรียก ยืนโจ่งโจะ. -
โจ่งโป่ง
แปลว่า : ลักษณะของรูที่ใหญ่ มองเห็นทะลุตลอด เรียก ฮูโจ่งโป่ง. -
โจเจ
แปลว่า : อาการพูดเสียงดังของคนหมู่มาก ไม่รู้ว่าเสียงใครต่อเสียงใคร เรียก เว้าโจเจ.