ภาษาอีสานหมวด "จ" 491 - 500 จาก 719
-
โจด
แปลว่า : ชื่อไม้ไผ่ชนิดหนึ่งในตระกูลไม้ไผ่ป่า ลำเล็ก เกิดในป่าโปร่ง หน่อทำเป็นอาหารกินได้ เรียก ไม้โจด ลำต้นเอามาทำเป็นไม้กวาด กวาดลานบ้าน ลานวัด. -
โจด
แปลว่า : เล่าลือ เรื่องที่เล่าลือกันเรียก โจด โจดขาน ก็ว่า. -
โจดโลด
แปลว่า : สิ่งของที่มีลักษณะเล็กและสูง เช่น ต้นไผ่ลำเล็กและสูง เรียก สูงโจดโลด ยาวโจดโลด ก็ว่า. -
โจท
แปลว่า : ถาม การถามเรียก โจท อย่างว่า แล้วคอบไท้โพธิราชบุญขวาง จอมธรรม์ธรงวาจาโจทเขาขุนเสื้อ ใผผู้เป็นแนวท้าวกุมภัณฑ์พงศ์กิ่ง กูจักตั้งแต่งให้เป็นเจ้าแจกปุน (สังข์). -
โจทก์
แปลว่า : ผู้กล่าวหา ผู้ฟ้อง คนผู้ฟ้องเรียก โจทก์ ผู้ถูกฟ้องเรียก จำเลย. -
โจทนา
แปลว่า : ถาม ทักท้วง อย่างว่า ผิจักโจทนาด้วยพระทัยธรงฮ้อนแฮ่ง อันนั้นคันบ่แล้วที่ข้องเหมือนม้วยหอดหิว (สังข์). -
โจ้น
แปลว่า : ไก่ ที่มีลักษณะใหญ่และสูงเรียก ไก่โจ้น ไก่จ้น ก็ว่า อย่างว่า มือเบื้องซ้ายถือกระบี่ดวงคม สังวาลธรงเฮื่อเฮืองคำล้วน พอคราวแล้วเถิงแถใกล้ฮุ่งไก่ผู้โจ้นขันท้าฮุ่งมา (สังข์). -
โจ้น
แปลว่า : สูง ใหญ่ คนที่มีลักษณะใหญ่และสูงเรียก คนโจ้น. -
โจนโจ
แปลว่า : สูง ชะลูด อย่างว่า อันว่าโจนโจนั้นหัวแกวท้าวกว่า หลานท่านได้วานนี้ค่ำควร (ฮุ่ง). -
โจม
แปลว่า : ประคอง ยกขึ้น การใช้มือทั้งสองจับแล้วยกขึ้น เรียก โจม อย่างว่า ซว่าซว่าฮ้องคับคั่งโฮมขวัญ เขาก็โจมจอมศรีใส่เพลาเพียรป้อน (ฮุ่ง) มารก็ทำเดชกล้ายิ่งกว่าแสนที่ โจมภูเขากึ่งมาเพม้าง บาคราญเปลื้องเผลียงศรผันผ่า ภูแตกม้างสะเด็นต้อง ถึกมาร (สังข์).