ภาษาอีสานหมวด "จ" 511 - 520 จาก 719

  • ใจ
    แปลว่า : สิ่งที่ทำหน้าที่รู้สึก นึก และคิด เรียก ใจ.
  • ใจกล้า
    แปลว่า : ผู้มีใจเข้มแข็งไม่กลัวเกรงต่อภัยอันตรายและอุปสรรค เรียก คนใจกล้า อย่างว่า ยศโยคเจ้าฟ้าคื่นคนิงคุณ ฮมเพิงขานเหนี่ยวเจืองใจกล้า (ฮุ่ง).
  • ใจกว้าง
    แปลว่า : ผู้มีใจกว้างขวางเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม เรียก คนมีใจกว้างขวาง อย่างว่า ขุนใหญ่พร้อมเมือมอบนมัสการ เขาก็ยำกุมารหน่อจอมใจกว้าง (สังข์).
  • ใจข้อง
    แปลว่า : ผู้มีใจผูกพัน เรียก ผู้มีใจข้อง อย่างว่า ท่อแต่กีโสก้ำแดนใดหายห่วง แค้นแต่ข้าพระบาทเจ้าใจข้องขอดขนัง (สังข์).
  • ใจคด
    แปลว่า : ผู้มีใจไม่ซื่อตรง เรียก ผู้มีใจคด อย่างว่า ใจคดแท้ปุนไปแสนช่อง ต้านต่อหน้าแหนเฮื้องฮ่อมความ เพื่อนนอ (สังข์).
  • ใจคาม
    แปลว่า : ผู้มีใจหนักแน่นไม่เกรงกลัว เรียก ผู้มีใจคาม อย่างว่า ขอแก่มหาจักร์เจ้าใจคามคนิงมาก จริงเถิ้น เชิญช่อยชี้บูฮานน้าวหน่วงสม แด่ถ้อน (สังข์).
  • ใจเคร่ง
    แปลว่า : ผู้มีใจเข้มแข็งดุเดือด เรียก ผู้มีใจเคร่ง อย่างว่า เมื่อนั้นภูเบศรเจ้า ใจเคร่งคึดสงวน กำตาวเปืองแกว่งไกวกระจัดม้าง (สังข์).
  • ใจจอด
    แปลว่า : ผู้มีใจระลึกคิดถึง เรียก ผู้มีใจจอด อย่างว่า นับฮ่อถ้วนใจจอดเชียงเครือผินมาดาแม่คีงมาต้าน (ฮุ่ง).
  • ใจเจ็บ
    แปลว่า : ผู้มีความทุกข์ใจ เรียก ผู้มีใจเจ็บ อย่างว่า ใจเจ็บแท้วันคืนฮ้อนฮ่อ ฮักบ่เกื้อกุมป้อนเปล่าแฮง (สังข์).
  • ใจแจ้ง
    แปลว่า : ผู้มีใจบริสุทธิ์สะอาด เรียก ผู้มีใจแจ้ง อย่างว่า เมื่อนั้นฮมฮมพร้อมสาวศรีสงวนบ่าว อย่างว่าข้าท่านไท้ใจแจ้งโลภลวง (สังข์).