ภาษาอีสานหมวด "จ" 521 - 530 จาก 719
-
ใจแจ่ม
แปลว่า : ผู้มีใจสะอาดสดใส เรียก ผู้มีใจแจ่ม อย่างว่า เมื่อนั้นบุญสูงง้อมสองศรีใจแจ่ม ดีแก่เชืองแกว่นน้อมพาเข้าขาบถวาย (ฮุ่ง). -
ใจบาป
แปลว่า : ผู้มีใจเลวทราม เรียก ผู้มีใจบาป อย่างว่า อันหนึ่งยาลอนเลี้ยงคนโจรใจบาป จักเพื่อนข้องเข็ญฮ้ายฮ่วมเฮือน ลูกเอย (สังข์). -
ใจเบ่งบ้า
แปลว่า : ผู้ที่เสียใจจนหลงลืมตัว เรียก ใจเบ่งบ้า อย่างว่า เทื่อนี้เจ้าโลกล้านธรงแท่นเป็งจาล เคืองแคลนดอมลูกลุนฮามห้อง ใจเบ็งบ้าแปรปรวนเป็นโทษ พลัดพ่อไว้ปีเป้าพรากพงศ์ (สังข์). -
ใจปล้ำ
แปลว่า : ผู้เป็นนักเสียสละกล้าได้กล้าเสีย เรียก คนใจปล้ำ อย่างว่า พ่อก็มีอาชญ์ให้ฝูงหม่อมมาวอน เคียดเพื่อมารมาเหงโคบเอาอาได้ พ่อก็กลอยใจป้ำปองมันมุดมอด คันว่าฮู้ข่าวเจ้าใจแจ้งสั่งคดี (สังข์). -
ใจมอด
แปลว่า : ผู้มีความเสียใจอย่างมาก เรียก ใจมอด อย่างว่า นางคั่งค้อยใจมอดมัวกระหาย หลานเดียวกูอย่าจำคำนั้น เทื่อนี้ทังแดนเสื้อแสนกือกองมาก เศิกหมู่ล้านรือน้อยบ่กลัวแม่เด (สังข์). -
ใจมือ
แปลว่า : มาตราตวงของโบราณ เท่ากับสี่ใจมือเป็นหนึ่งกำมือ. -
ใจเมือง
แปลว่า : นางกษัตริย์ เรียก ใจเมือง อย่างว่า มีท่อเยาวยอดแก้วเป็นมิ่งใจเมือง นางลุนมีแม่เดียวเทียมท้าว ปรากฏแก้วสุมุณฑาธรงฮูป โฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์). -
ใจโลก
แปลว่า : ผู้เป็นใหญ่ในโลก เรียก ใจโลก อย่างว่า องค์กษัตริย์เจ้าเป็นจอมใจโลก แปดพันทวีปน้อมเป็นเจ้าแห่งเดียว (สังข์). -
ใจวองแวง
แปลว่า : ผู้มีใจเบาไม่หนักแน่น กระทบอารมณ์มักจะหันเหไปตาม เรียก ใจวองแวง อย่างว่า ยินแต่ความเพื่อนต้านฮวยเฮี่ยฮำหู นางนี้ใจวองแวงบ่เพิงฮอยฮ้าย (สังข์). -
ใจวั่ง
แปลว่า : ผู้มีใจวังเวง ผู้มีใจเปล่าเปลี่ยว เรียก ผู้มีใจวั่ง ใจวั่งเว วั่งเว อย่างว่า ฮุ่งค่ำเช้าใจวั่งวอนกระสัน มีท่อสามศรีพอเพื่อนกันปางไฮ้ (สังข์).