ภาษาอีสานหมวด "จ" 531 - 540 จาก 719

  • ใจวาย
    แปลว่า : ผู้มีใจเสีย ใจต่ำทรามเรียก ใจวาย อย่างว่า ส่ำหนึ่งพาโลล้นหลับตื่นสูรย์สวย ส่ำหนึ่งเป็นใจวายเปรียบมันมัวไฮ้ คนใดฮ้ายจาฮุนแฮงโลภ ลอนท่อเลี้ยงเสียหน้าเพื่อมัน ลูกเอย (สังข์).
  • ใจวิ้น
    แปลว่า : ผู้มีใจเกรงกลัว เรียก ใจวิ้น อย่างว่า จาระจาเข้มคำฟุนซีกซาก ภูวนาถน้อยใจวิ้นหว่ากลัว (สังข์).
  • ใจฮน
    แปลว่า : ผู้มีใจกังวล เรียก ใจฮน อย่างว่า จอมเมืองเจ้าใจฮนฮักไพร่ สนุกอยู่หลิ้นไพรกว้างม่วนระงม (สังข์).
  • ใจฮม
    แปลว่า : ผู้มีใจรัก เรียก ใจฮม อย่างว่า นางจันทร์เจ้าใจฮมฮักแม่ แม่ก็ฮักลูกแก้วกุมเกี้ยวจูบกัน (สังข์).
  • ใจฮู้
    แปลว่า : ผู้รู้จักบุญคุณ เรียก ใจฮู้ อย่างว่า ผ่อเห็นฮวานฮวานส้วยวันเวียนตกต่ำ บุตตะราชเจ้าใจฮู้ฮ่ำคุณ (สังข์).
  • ไจ
    แปลว่า : ด้ายที่ปั่นเต็มไนแล้วเก็บออกมาเรียกฝ้ายหนึ่งไจ สิบไจเท่ากับหนึ่งปอย. กรอง เกรอะ ต้มปลาร้าแล้วกรองเอาแต่น้ำ เรียก ไจปลาแดก เกรอะปลาแดก เตอะปลาแดก ก็ว่า.
  • ไจ้
    แปลว่า : ชื่อปีที่หนึ่งในจำนวนสิบสองปี คือ ปีไจ้=ปีชวด ปีเป้า=ปีฉลู ปียี่=ปีขาล ปีเหม้า=ปีเถาะ ปีสี่=ปีมะโรง ปีไส้=ปีมะเส็ง ปีชะง้า=ปีมะเมีย ปีมด=ปีมะแม ปีสัน=ปีวอก ปีเฮ้า=ปีระกา ปีเส็ด=ปีจอ ปีไค้=ปีกุน. คัด เลือก คัดสิ่งเสียออกจากสิ่งดีเรียก ไจ้ ไซ้ ก็ว่า.
  • ไจ้ไจ้
    แปลว่า : บ่อยๆ เนืองๆ คิดถึงเนืองๆ เรียก คึดไจ้ไจ้ จีไจ้ จีไจ้จีไจ้ ก็ว่า อย่างว่า เจ้าก็คิดเถิงบารมีธรรมเจ้าอยู่ไจ้ไจ้ (เวส).
  • จ้วด
    แปลว่า : เสียงของบั้งไฟ เวลาจุดบั้งไฟ ตอนบั้งไฟขึ้นจะมีเสียงดัง "จ๊วด" จึงมีการเลียนแบบเสียงจากธรรมมาใช้ในภาษาอีสาน ใช้กับเรื่องทั่วๆไป อะไรที่กำลังจะเริ่มสนุก กำลังพุ่งขึ้น กำลังจะมันส์ สามารถใช้คำว่า "จ๊วด" มาประกอบเพื่อเพิ่มอรรถรส
  • จ๊วด
    แปลว่า : เสียงของบั้งไฟ เวลาจุดบั้งไฟ ตอนบั้งไฟขึ้นจะมีเสียงดัง "จ๊วด" จึงมีการเลียนแบบเสียงจากธรรมมาใช้ในภาษาอีสาน ใช้กับเรื่องทั่วๆไป อะไรที่กำลังจะเริ่มสนุก กำลังพุ่งขึ้น กำลังจะมันส์ สามารถใช้คำว่า "จ๊วด" มาประกอบเพื่อเพิ่มอรรถรส