ภาษาอีสานหมวด "จ" 51 - 60 จาก 719
-
จตุโลกบาล
แปลว่า : ผู้รักษาโลกในสี่ทิศ คือ ท้าวธตรัฐ รักษาโลกในทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก รักษาโลกทางทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกทางทิศตะวันตก ท้าวกุเวร รักษาโลกในทางทิศเหนือ (ป.). -
จน
แปลว่า : ขัดสน ไร้ทรัพย์ คนไร้ทรัพย์ เรียก คนจน อย่างว่า คันเจ้าได้ขี่ช้างกั้งฮ่มสัปทน อย่าได้ลืมเฮียมจนผู้แห่นำตีนช้าง (ผญา) พี่น้องใกล้ชิดกัน เรียก คนชั้นจน. -
จน
แปลว่า : สั้น คนคอสั้นเรียก คนคอจน อย่างว่า ติแต่ทางเขาฮ้ายภายโตบ่เตื้องต่อ ติแต่คออึ่งเพ้าคอเจ้าแฮ่งจน (ย่า). -
จน
แปลว่า : จำนน จนแต้ม เล่นการพนันยอมจำนนเรียก จน อย่างว่า เลยเล่าแพ้พระยานาคนาโค เลิงเลิงผัดพร่ำคุมสามแป้นนาโคเจ้าจนใจจักแตก หน้าหล่าเนื้อคีงค้ามเยือกพอง (สังข์). -
จน
แปลว่า : ตราบ เท่า ตลอด ทำงานตลอดวัน เรียก เฮ็ดจนค่ำ ค่ำมืดปืดตา ก็ว่า คับคั่งเต็มไปหมดเรียก จอดจน อย่างว่า ยนยนช้างเชียงทองคับคั่ง ม้ามากเท้าเกยกว้างจอดจน (สังข์). -
จ่น
แปลว่า : เร่งรัด ไม่อยากทำก็ได้ทำ ไม่อยากพูดก็ได้พูด อย่างว่า บ่อยากเว้าหางแมงเงาเจ้าหั้งแหย่ บ่อยากเว้าหางแง้ผักแหย่มา (บ.). -
จ่นจ่น
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น คนประดังเข้ามา ไม่ทราบว่าเสียงใครต่อเสียงใครพูดกัน ดังจ่นจ่น. -
จ้น
แปลว่า : ชื่อไก่ตัวผู้ตัวใหญ่ชนิดหนึ่ง ลำตัวสูง เรียก ไก่จ้น ไก่โจ้น ก็ว่า อย่างว่า บ้านเมืองข้อนขุนกวานยาดไพร่ เมืองขวาได้ไก่โจ้น เมืองซ้ายได้ไก่ยอง เมืองซองได้ไก่แจ้ คราวนี้แพ้ไพร่เมือง (บ.). -
จ้น
แปลว่า : แยกข้าวลีบออกจากข้าวเปลือกด้วยการเทโปรยลงจากที่สูง เรียก จ้นเข้า. -
จ้นจ้น
แปลว่า : เสียงดังอย่างนั้น เช่น น้ำไหลจากภูเขาเสียงดังจ้นจ้น อย่างว่า น้ำมันไหลจ้นจ้นโตนตองตาดหีน (กา).