ภาษาอีสานหมวด "จ" 71 - 80 จาก 719

  • จรรยา
    แปลว่า : ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติในหมู่ในคณะ (ส.).
  • จรืก
    แปลว่า : จาริก เดินไป โคจรไป อย่างว่า คือดั่งจันทร์จรืกฟ้าเป็นคู่สุริโย (ลึบ).
  • จ๊วก
    แปลว่า : อาการพุ่งออกมาอย่างแรงของน้ำจากกระบอกไม้ไผ่.
  • จวกพวก
    แปลว่า : ล้มกองกัน เช่น เด็กจำนวนมากล้มกองกัน เรียก ล้มจวกพวก.
  • จวง
    แปลว่า : เทพทาโร ชื่อพรรณไม้กลิ่นหอมชนิดหนึ่ง ชื่อ จวงหอม อย่างว่า ดีท่อลมเปล่งพร้าว พัดยอดจวงทอง เฮืองเฮืองดาวเดี่ยวนางนอนชู้ เหมือยนองฝั้นหลายหลึมทุกหมู่คือฮูปช้างใชชู้เผ่นโขง (ฮุ่ง).
  • จ่วงล่วง
    แปลว่า : แกงที่ใส่น้ำมากจนมองเห็นเงาเรียก แกงใสจ่วงล่วง.
  • จ้วงหล้าง
    แปลว่า : มีเสียงดังอย่างนั้น เช่น เขย่าน้ำในกระบอกไม้ไผ่ เสียงดัง จ้วงหล้าง.
  • จ้วด
    แปลว่า : เผาเหล็กให้แดงแล้วจุ่มลงในน้ำดัง จ้วด ถ้าเป็นเหล็กขนาดเล็กเสียงดังจ้อด.
  • จ้วดทวด
    แปลว่า : เหล็กแหลม หรือไม้แก่นที่เสี้ยมปลายให้แหลม ตั้งเรียงรายกันเรียก ชันจ้วดทวด.
  • จวน
    แปลว่า : พบเห็นเรียก จวนพ้อ พบปะเรียก จวนพ้อ ถึงคราวถึงเวลาเรียกจวบ เพิ่งได้พบเรียก จวบ อย่างว่า กำพร้าซากจวบนม ผีเผดจวบเข้าสาก (ภาษิต) จวบเมื่อฟ้าสว่างแจ้งเบยเบิกบัวระพา พุ้นเยอ พระพายพานตอมโง่นงามคือช้าง (สังข์)