ภาษาอีสานหมวด "จ" 91 - 100 จาก 719
-
จอกหลอก
แปลว่า : ลักษณะของหลุมที่ลึกแต่ไม่กว้าง เรียก หลุมยาวจอกหลอก ถ้ากว้างเรียก ยาวโจกโหลก. -
จอกหวอก
แปลว่า : ลักษณะของโพรงไม้ที่เป็นรูลึก แต่ไม่กว้างเรียก ฮูจอกหวอก ถ้าฮูใหญ่เรียก ฮูโจกโหวก. -
จ้อก้อ
แปลว่า : สิ่งของที่เล็กรวมกันอยู่เรียก กองจ้อก้อ ถ้าตั้งเรียก ตั้งจ้อก้อ ถ้าเป็นของใหญ่และรวมกันอยู่เรียก กองโจ้โก้ ถ้าตั้งว่า ตั้งโจ้โก้. -
จ่อค่อ
แปลว่า : อาการที่สัตว์ตัวเล็กนั่งจับเจ่าเรียก นั่งจ่อค่อ ถ้าเป็นสัตว์ตัวใหญ่เช่น เสือ เรียก นั่งโจ่โค่ จ่อค่อ แจ่แค่ โจ่โค่ เจ่เค่ ก็ว่า. -
จอง
แปลว่า : กระจ่า ชื่อช้อนสำหรับตักแกง ทำด้วยกะลามะพร้าว มีด้ามสำหรับจับ เรียก จอง อย่างว่า จองบ่มีด้ามชิเสียทรงทังวาด เขาชิเอิ้นกะโป๋หมากพร้าว บ่มีเอิ้นว่าจอง (ย่า). -
จ่อง
แปลว่า : ดึง เหนี่ยว รั้ง เหนี่ยวรั้งเรียก จ่อง ดึงมือเรียก จ่องมือ อย่างว่า พ่องกอดอุ้มนางลูบโลมขวัญ สนสนจับจ่องมือมัวไห้ (สังข์). -
จ้อง
แปลว่า : ร่มผ้า ชื่อร่มกันแดดทำด้วยผ้า เรียก จ้อง คันจ้อง ก็ว่า อย่างว่า เชื้อชาติจ้องคันก่องกะยังหุบ บาดห่าชาตาหลุบหลูบลงคือจ้อง บาดห่าชาตาขึ้นขวางคือขอนกะเลยล่อง บาดชิล้มหยุมหญ้าบ่ฟัง (กลอน). -
จองจำ
แปลว่า : ที่สำหรับคุมขัง เรียกที่จองจำ มีคุก ตะราง อย่างว่า รือจักจำจองให้ขังคาคอกขื่อ ขอให้ข้าปล่อยเปลื้องชีวีไว้อย่าสูญ (เวส-กลอน). -
จ่องเจ๊าะ
แปลว่า : อาการที่เด็กเล็กๆ เพิ่งหัดเดิน ก้าวขาสั้น และเดินไปช้าๆ เรียก ย่างจ่องเจ๊าะ. -
จ่องป่อง
แปลว่า : ลักษณะของรูที่เล็ก เรียก ฮูจิ่งปิ่ง รูขนาดกลางเรียก จ่องป่อง จ่างป่าง ก็ว่า รูขนาดใหญ่เรียก จึ่งปึ่ง.