ภาษาอีสานหมวด "จ" 101 - 110 จาก 719
-
จ้องพ้อง
แปลว่า : อาการที่คนหรือสัตว์นั่งติดอยู่กับที่ ลุกไม่ขึ้น เรียก นั่งจ้องพ้อง ถ้าขนาดใหญ่เรียก นั่งจึ้งพึ้ง. -
จองหอง
แปลว่า : เย่อหยิ่ง ถือตัว คนถือตัว เรียก คนจองหอง อย่างว่า ก็เพื่อจองหองโอ้สะหาวโตอวดเก่ง โตว่าโตเลิศล้ำ เขาซ้ำผัดกว่าโต (ย่า). -
จอแจ
แปลว่า : เสียงเซ็งแซ่ เช่น นกจำนวนมากร้องเซ็งแซ่เรียก ฮ้องจอแจ อย่างว่า จอแจฮ้องเฮียวโพแตกโพ่ วอกแวกหวื้นเย็นสมิ้งมิดดี ดูดาวตั้งเทิงหัวคนละผู้พุ้นกะชู้พี้กะชู้ คือไม้ง่าบ่มี (ปัญหา). -
จอด
แปลว่า : ระลึก คิดถึง การระลึกคิดถึง เรียก คึดจอด อย่างว่า เหมือยผ่านถ้ำย้อยยอดจวงทอง คอนคอนคึดจอดเจืองจอมไท้ เมื่อนั้นสองนายพร้อมพิมมะบานเถิงยี่ ขึ้นขาบไหว้ประนมนิ้วนอบถวาย (ฮุ่ง) แหนแต่บุญเฮืองสร้อยศรีใสโฉมฮาบ น้องก็คึดจอดเจ้าแพงช้างคั่งทวง (ฮุ่ง). -
จอด
แปลว่า : พักชั่วคราว หยุด การหยุดชั่วคราวเรียก จอด อย่างว่า ศรีใสแก้วไปใดดั้นดุ่ง อวนเอย เชิญหม่อมมาจอดยั้งดอมเอื้อยอุ่นใจ แด่ถ้อน (สังข์). -
จอดจอด
แปลว่า : พูดพร่ำ พูดซ้ำซาก คนพูดไม่หยุดเรียก เว้าจอดจอด อย่างว่า เว้าจอดจอดบ่บอดกะห้าน (ภาษิต). -
จ้อดจ้อด
แปลว่า : เสียงดังจากการเอาเหล็กแดงขนาดเล็กจุ่มลงไปในน้ำ เสียงดังจ้อดจ้อด. -
จอดลอด
แปลว่า : สิ่งของที่มีปลายเรียวแหลมขนาดเล็ก เรียก จอดลอด ขนาดใหญ่เรียก โจดโลด. -
จ้อน
แปลว่า : กะจ้อน ชื่อสัตว์ชนิดหนึ่ง ในจำพวกกระรอกและกระแต หน้ายาวแหลม เรียก จ้อน กะจ้อน ก็ว่า อย่างว่า ยูงทองเปล้าตัวดีกี้ก่าง นกฮอกจ้อนทังไก้ลิ่นแลน (ฮุ่ง). -
จ้อน
แปลว่า : ถลก ถลกผ้าเรียก จ้อนผ้า อย่างว่า จ้อนผ้าขึ้นปกล่ามปลายตีน ถุยลุยลงลากขี้ดินจำก้น (เสียว).