ภาษาอีสานหมวด "ช" 161 - 170 จาก 197
-
เชาว์
แปลว่า : เร็ว ไว คนมีสติปัญญาเร็วเรียก คนมีเชาว์ อย่างว่า ช่างให้เชาว์เหลาให้เกลี้ยง (ภาษิต). -
เชิง
แปลว่า : ท่วงที อุบาย อย่างว่า ทรงล่ำเยี้ยมเขาเหล้นหลากเชิง (กา). -
เชิง
แปลว่า : เสบสม สมสู่ การสมสู่อยู่ร่วมของคนหรือสัตว์ คนโบราณเรียก เชิง อย่าว่า กลัวแต่สาวพี่น้องมองเยี้ยมบาดชิเชิง (กา) เขาก้เชิงกันเหล้นคือหมาเป็ดไก่ ช่างบ่อายพี่น้องไกลใกล้ส่องเห็น (บ.). -
เชิงชะกอน
แปลว่า : ที่สำหรับเผาศพ เรียก เชิงสะกอน เชิงตะกอน ก็ว่า อย่างว่า ลุโชคเมี้ยนมือสู่พิมานแมน พุ้นเถิ้น เชิงชะกอนยายบ่หลอเผาพร้อม ยังท่อบุตตาสร้อยสงสารสองหน่อ ท้าวอยู่หม้อมเทียมแม่บัวใจ (ฮุ่ง). -
เชิญ
แปลว่า : วิงวอน ขอให้ทำ ขอร้อง การขอร้องให้ทำเรียก เชิญ อย่างว่า หื่นหื่นพร้อมเสเนศนีรมนต์ เชิญภูมีเสด็จสู่เชียงคนเค้า ตาวตามล้นระวังแพนคนคั่ง หลายติ่วชั้นเวียงล้านมืดมัว (สังข์). -
เชียง
แปลว่า : ศักดิ์ที่ได้จากพระศาสนา ผู้ที่บวชเป็นสามเณร เมื่อลาสิกขออกไปเขาจะให้เกียรติโดยเรียกว่า เชียง เช่น เชียงสี เชียงสา เชียงมี เชียงมา เชียงเหมี้ยง. -
เชียง
แปลว่า : เฉลียวฉลาด ผู้มีความเฉลียวฉลาด ถึงจะไม่ได้บวชเขาก้เรียก เชียง คือ เป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด. -
เชียง
แปลว่า : เจ้าเมือง พระราชาหรือราชินี มักใช้คำแทนชื่อว่า เชียง อย่างว่า เมื่อนั้นภูวนาถฮู้ฮับขอบขานเชียง ฟังยินระบำบนเนืองนาคตีตามเฝ้า กลองเกาไค้ตุรีย์เสียงสูรปี่ นาคหนุ่มเปลื้องเพศเพี้ยงสาวซ้อยสอดสะเอง (สังข์). -
เชียง
แปลว่า : เมืองหลวงหรือเมืองสำคัญเรียก เชียง อย่างว่า เชียงหลวงล้นรุงรังล้านย่าน น้ำแผ่ล้อมระวังต้ายชั่วพัน ฮุ่งค่ำเช้าชาวเทศเทียวสะเภา อุดมโดยดั่งดาวดิงส์ฟ้า (สังข์). -
เชียง
แปลว่า : หญิงงามที่เจ้าเมืองคัดเลือกเอามาเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี เรียก นางเชียง อย่างว่า เสด็จขาดใช้พลเดชโดยพลัน นำนางเชียงชู่เมืองมาพร้อม เกียงคำแท้เชียงทองแมนมิ่ง ก็มา เขาก็ชมชื่นเหลื้อมใสพร้อมเพิ่งบุญ (สังข์).