ภาษาอีสานหมวด "ซ" 291 - 300 จาก 497
-
แซ้น
แปลว่า : ตักเอาแต่น้อย เช่น ใช้พั่วตักเอาดินแต่น้อยเรียก แซ้นดิน ตักแกงแต่น้อยเรียก แซ้นแกง. -
แซ้นแม้น
แปลว่า : ลักษณะหน้าตาที่เผือดซีดเรียก หน้าแซ้นแม้น. -
แซบ
แปลว่า : อร่อย, รสชาติดี ใช้กับอาหารที่มีรสอร่อย โดยทั่วไปจะพบเห็นคำว่า แซ่บ มากกว่าคำว่า แซบ ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียงลากยาว จะไม่ได้ออกเสียงสั้นเหมือนอย่างที่เห็นกันทั่วไปตามสื่อ ดังนั้นที่ถูกต้องจึงเขียนว่า แซบ ไม่ใช่ แซ่บ -
แซบซ้อย
แปลว่า : อาหารที่มีรสอร่อยจัดเรียก แซบซ้อย อย่างว่า ดูแซบซ้อยก้อยลาบแกงจืน (ผาแดง) ของแซบซ้อยเซ็งต้านแต่เพ็งแท้แล้ว (สังข์). -
แซม
แปลว่า : แทรก ปน ผมขาวกับผมดำปนกันเรียก ผมแซมหมากงา ขนดำกับขนแดงแทรกกัน เรียก ขนแซมเลา อย่างว่า โตใดแซมเล้าแท้มงคลแสนประเสริฐ (เวส) ลางนางเที้ยนดาตนตั้งก่อน ทัดดอกไม้แซมซ้ายชุ่มมัน (ฮุ่ง). -
แซม
แปลว่า : เรือเพียบน้ำจวนจะล่มเรียก เฮือแซม อย่างว่า เฮือชิหล้มแฮ่งเหยียบแคมเฮือชิแซมแฮ่งหย้มท้าย (ภาษิต). -
แซมแลม
แปลว่า : คนชอบพูดสอดแทรก เช่น เมื่อผู้ใหญ่พูดกันก็มักพูดสอดแทรก อย่างว่า เหลียวเห็นหน้าแซมแลมย้านแต่แก่ม ความกินบ่แก่มเจ้า ความเว้าแก่มซู่คน (กลอน). -
แซว
แปลว่า : นกแซงแซว ชื่อนกชนิดหนึ่งเรียก นกแซว อย่างว่า ฟังยินซว่าซว่าชั้นเสียงคณาในเถื่อน แซวแทดท้วงถัวเถ้าเล่าลาง (สังข์). -
แซว
แปลว่า : กระแซว ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นหมากแซว มีผลกินได้. -
แซว
แปลว่า : ไม้สำหรับตีกรรเชียงเรือ เรียก แซวเฮือ แจวเฮือ ก็ว่า อย่างว่า แซวเยอ ฝูงไทล้ายขันโทมทังถ่อ แซวถ้อน (สุด).