ภาษาอีสานหมวด "ต" 421 - 430 จาก 779
-
เตี่ยว
แปลว่า : ชายผ้านุ่งที่ม้วนเหน็บไว้ข้างหลัง เรียก ผ้ากะเตี่ยว อย่างว่า ลำเหมิดคืนบ่ลำความเก่า พี่ชิเล่าพื้นผ้าผืนเดียว ผ้าผืนเดียวมีเก้ากะเตี่ยว เก้ากะเตี่ยวเกาะเกาะกังกัง ผืนหนึ่งกั้งผืนหนึ่งปูนอน (กลอน). -
เตือก
แปลว่า : เนื้อใสอยู่ในติวของไม้ไผ่ เรียก เตือก ตุมเตือก ก็ว่า. -
เตื้อง
แปลว่า : ไหว ติง อย่างว่า กกบ่เตื้องตีงตายตั้งแต่ง่า ง่าบ่เหลื้องไปเตื้องตั้งแต่ใบ (ผญา). -
เตื้องต่อ
แปลว่า : มุ่งหวัง ตั้งใจ เอาใจจดจ่อ เรียก เตื้องต่อ อย่างว่า เตื้องต่อเหล้าไหนาปานน้ำท่า ไหอยู่บ้านบ่ทันได้ผ่าโพง (ผญา). -
เตื่องเอื่อง
แปลว่า : ใส สะอาด บริสุทธิ์ น้ำที่มีปริมาณมากและใสสะอาดเรียก ใสเตื่องเอื่อง. -
เตือน
แปลว่า : ทำให้รู้ตัว บอกให้รู้ล่วงหน้า อย่างว่า วันนี้เฮาจักเตือนฝูงเชื้อประดับปุนไปม่วน ให้แต่งห้างหุมย้องซู่ซุมแด่เนอ (สังข์) -
เตื่อย
แปลว่า : ปากที่แบะห้อยลงมาเรียก สบเตื่อย สีสบเตื่อย ผีสบเตื่อย ก็ว่า. -
เตื้อยเตื้อย
แปลว่า : อาการคนขี้เกียจทำงานหรือเดิน ถ้าทำงานว่า เฮ็ดเตื้อยเตื้อย ถ้าเดินว่า ย่างเตื้อยเตื้อย. -
แต้
แปลว่า : ส่วนล่างของใบหูที่ย้อยลงมาเรียก แต้หู หมากกะแต้ ก็ว่า. -
แต้
แปลว่า : ไม้มะค่าแต้ ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ไม้แต้ ไม้แต้มีสองชนิดคือ แต้หนามและแต้โลน ผลใช้กินได้ ไม้แต้เป็นไม้เนื้อแข็งมีราคาสูง ใช้ทำโต๊ะ เก้าอี้ เตียง และเครื่องใช้อื่นๆ.