ภาษาอีสานหมวด "ต" 401 - 410 จาก 779

  • เต้าแม่นางข้อง
    แปลว่า : พิธีขับภูตผีปีศาจ โดยเอาข้องมาทำพิธี จัดเครื่องสักการะ มีดอกไม้ธูปเทียนเป็นต้นลงในข้อง ป่าวสัคเคเทวดาลงมา ให้คนสองคนไปจับคาน ถ้าข้องไปข้องจะไปตีคนหรือสิ่งของนั้น ถ้าข้องไม่ไปให้เปลี่ยนคนจับใหม่ (ประเพณี).
  • เต้าแม่นางด้ง
    แปลว่า : แม่นางด้ง คือด้งที่จัดเครื่องสักการะใส่ไว้ข้างใน กระด้ง 2 ใบและไม้คาน 2 คู่ ยืมมาจากเรือนแม่ฮ้างแม่หม้าย นอกนั้นก็มีหวี แว่น ก้องแขน ไม้คานมัดที่กระด้งเป็นรูปตีนกา เมื่อมัดแล้วทำพิธีปลุกเสกคือป่าวเทวดาและว่าคำเซิ้ง เพื่อการขอฝนให้ตอกหลักแล้งหลักฝนไว้.
  • เต้าแม่นางแมว
    แปลว่า : เป็นพิธีขอฝน โดยเอาแมวใส่ในกระทอแล้วว่าคำเซิ้งขอน้ำฝน แห่นางแมวไปตามบ้าน ถึงเรือนใครก็ตักน้ำรดแมว (ประเพณี).
  • เตาะ
    แปลว่า : ตีหรือเคาะเบาๆ เรียก เตาะ เช่น เอาแส้เตาะหมูให้วิ่งไปตามทาง เคาะกลองด้วยค้อนเบาๆ เรียก เตาะกลอง.
  • เตาะแตะ
    แปลว่า : ตอแหล ตอแย เช่น ตอแหลเรียก เตาะแตะ เกาะแกะ ก็ว่า.
  • เต๊าะแต๊ะ
    แปลว่า : อาการเดินของเด็กที่เพิ่งสอนเดิน ว่า ย่างเต๊าะแต๊ะ.
  • เต๊าะเมาะ
    แปลว่า : ของที่มีลักษณะนูนแต่เล็กเรียก เต๊าะเมาะ ถ้าใหญ่ว่า โต๊ะโมะ โต๋โหม ก็ว่า.
  • เต๊าะเยาะ
    แปลว่า : ลักษณะของหอหรือโฮงที่ปลูกขึ้น ถ้าเล็กเรียก เต๊าะเยาะ ถ้าใหญ่เรียกว่า โต๊ะโย๊ะ.
  • เตาะเหลาะ
    แปลว่า : งาม เกลี้ยงเกลาแต่เล็ก เรียก เตาะเหลาะ ถ้าใหญ่ว่า ตุหลุ อย่างว่า ตุหลุเจ้าผู้พั้วดอกต้าง โงใส่ใผตั้งแต่ฮ้างบุญส้วมน้องบ่มี (ผญา).
  • เติ่ง
    แปลว่า : กาง กว้าง ใหญ่ ใบหูกางเรียก ใบหูเติ่ง.