ภาษาอีสานหมวด "ต" 411 - 420 จาก 779
-
เติ่งเคิ่ง
แปลว่า : ค้างเติ่ง -
เติดเหลิด
แปลว่า : เตลิด ไปโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง ค่ำไหนนอนนั่น เรียก เติดเหลิด เติดเหลิดเปิดเปิง ก็ว่า. -
เติน
แปลว่า : เตือน ป่าวร้อง บอกให้รู้ ป่าวร้องเรียก เติน อย่างว่า วันนี้เฮาจักเตินฝูงเชื้อประดับปุนไปม่วน ให้แต่งห้างหุมย้องซู่ซุมแด่เนอ (สังข์) ตักเตือกนเรียก เติน อย่างว่า ผิดถึกแท้แพงล้านหมั่นเตินแด่ถ้อน (ฮุ่ง). -
เติ่นเติ่น
แปลว่า : เกินขอบเขตม เกินพอดี อย่างว่า ไต่ขัวแป้นเมือนาเติ่นเติ่น หัวเราะเสียงดังโดยไม่คิดว่าจะมีใครหนวกหูหรือไม่ เช่น หัวเติ่นเติ่น. -
เติบ
แปลว่า : พูดเกินพอดี เรียก ต้านเติบ อย่างว่า สังมามัวเมาแท้ทนงตนต้านเติบ (สังข์) กินค่อนข้างมากเรียก กินหลายเติบ ทางค่อนข้างไกลเรียก ทางไกลเติบ ของค่อนข้างหนักเรียก หนักเติบ รักค่อนข้างมากเรียก มักหลายเติบ. -
เติม
แปลว่า : เพิ่ม เพิ่มเข้าเรียก เติม ตื่ม ก็ว่า อย่างว่า น้องบ่ขีนขัดข้องบูฮาณตั้งชิค่อยเติม (กา) ฝูงหมู่ข้าเก่าแก้วเติมเข้าล่วงไป (ฮุ่ง). -
เตี้ย
แปลว่า : ต่ำ ไม่สูง ต้นไม่ต่ำ เรียก ต้นไม้เตี้ย เช่น ผักอีตู่เตี้ย ผักกระโดนเตี้ย เปี้ย ก็ว่า. -
เตียง
แปลว่า : ที่สำหรับนอนหรือตั้งสิ่งของ มีสี่เท้า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เรียก เตียง. -
เตี้ยงเหลี้ยง
แปลว่า : บริสุทธิ งาม สะอาด ใช้กับน้ำที่มีปริมาณมาก และใสสะอาดว่า เตี้ยงเหลี้ยง เตื้องเหลื้อง ก็ว่า หรือใช้กับสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น อย่างว่า เจ้าเตี้ยงเหลี้ยงนอนเทิงเตียงคือชิเกลี้ยงชะมิ่นลิ่น (บ.). -
เตียน
แปลว่า : ติ ตำหนิ อย่างว่า บ่ได้ติเตียนเจ้ามีหรือจนบ่ได้ว่า เป็นข้าเพิ่นฮ้อยชั้นชินำซื้อไถ่เอาดอกนา (กลอน) อย่าได้ฟังความใผกล่าวเตียนตนน้อง (ฮุ่ง) นินทาเรียก เตียนขวัญ.