ภาษาอีสานหมวด "ถ" 31 - 40 จาก 200

  • ถอง
    แปลว่า : กระทุ้งด้วยศอก เรียก ถอง เช่น กูซิถองเอาล่ะ.
  • ถอง
    แปลว่า : ถึง เรียก ถอง อย่างว่า เวรสามเจ้านำถองเถิงขนาด (กา) ไม่หยุดเรียก บ่ถอง ไม่หมดเรียก บ่ถอง ไม่ถึง เรียก บ่ถอง ไม่ถูก เรียก บ่ถอง อย่างว่า ธรทวยก้าวกำเชยเปลื้องป่าย พันหมื่นชั้นมาเว้นบ่ถอง (สังข์).
  • ถ่อง
    แปลว่า : ฝ่าย ส่วน ครึ่ง ฝ่ายหนึ่งส่วนหนึ่ง เรียก ถ่อง ครึ่งหนึ่งเรียก ถ่องหนึ่ง อย่างว่า ลอนว่าตีงตัวแท้คือตนตายถ่อง กลั้นอยู่ซักไซ้ประมาณได้ชั่วยาม (ฮุ่ง) คือดั่งโตตายไปถ่องคีงทะลอนเยื้อน (ผาแดง).
  • ถ้อง
    แปลว่า : แนว แถว ทาง อย่างว่า แม้งหนึ่งวันใสพ้นภูขวางแจ้งสว่าง สาวถ่าวย้องเป็นถ้องหมื่นถัน (ฮุ่ง).
  • ถ้อง
    แปลว่า : คิดไม่รอบคอบ เรียก คึดบ่ถ้อง อย่างว่า เจ้าหากคึดบ่ถ้องคำน้อยต่อเติม (สังข์) พูดไม่ชัด เรียก ปากบ่ถ้อง เช่น พูดตัว ก. เป็น ตัว ข. เป็นต้น.
  • ถ่องแถว
    แปลว่า : ต้นไม้หรือสิ่งของที่เรียงรายกันเป็นระเบียบ เรียก ถ่องแถว อย่างว่า พอเมื่อทะล่งฟ้าลมล่วงเวหาพุ้นเยอ จอมก็วางมาลาถ่องแถวกันเข้า เมื่อนั้นลมออนเจ้าทูตาตางค่วง เต้าเครื่องฮ้อยคืนเข้าขาบแถน (ฮุ่ง).
  • ถอด
    แปลว่า : เอาออก เช่น ถอดเสื้อ ถอดผ้า ถอดหอก ถอดตาว อย่างว่า บาฮ่ำฮู้คองยากมึนนาน ผายเชิงเถิงถอดตาวกำด้าม เฮวแฮงต้านอาเอยฮีบเฮ่ง นางก็ฉวยปิ่นแก้วกำได้ด่วนลง (สังข์).
  • ถอน
    แปลว่า : ฉุดขึ้น ดึงขึ้น อย่างว่า ภูมีท้าวถอนตาวเปลื้องแกว่ง แสงดาบต้องมารล้มท่าวเท (กา) พระบาทท้าวมิอาจกลัวเกรงสน่อยนั้น ภูธรถอนแม่ธนูปุนเปลื้อง หลังหักค้นครางตายฮ้องฮ่วน มันเล่ายังพ่นฟ้งไฟไหม้ลวบลน (สังข์).
  • ถ่อน
    แปลว่า : ทิ้งถ่อน ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบคล้ายมะกร่ำ ใบอ่อนกินได้ กิ่งช้างชอบกิน เรียก ต้นถ่อน.
  • ถ้อน
    แปลว่า : เป็นคำลงท้ายซึ่งผู้พูดต้องการจะให้เป็นเช่นนั้น เรียก ถ้อน เถิน เถินเถิ้น ก็ว่า อย่างว่า ขอแก่เทพแผ่นหล้าหลายชั้นช่อยแฮงแด่ถ้อน (สังข์).