ภาษาอีสานหมวด "ท" 181 - 190 จาก 449
-
ทาสี
แปลว่า : ผู้หญิงที่ยอมตัวเป็นคนรับใช้ เรียก ทาสี (ป.) อย่างว่า ขออ้อนท้าวยอมโทษปางเดียว ฮู้ว่าเป็นทาสีบ่ขืนขอไหว้ เขาก็ขืนคำไหว้ราชาท้าวเจื่อง พระบาทผู้คีงค้อมด่วนไป (ฮุ่ง). -
ทำ
แปลว่า : เตะ ถีบ ใช้เท้าเตะหรือถีบเรียก ทำ อย่างว่า อาชานัยเปื้องยอตีนทำถีบ (กา) มือแข็งกร้าวตีนมือทำถีบ (สังข์). -
ทำทาน
แปลว่า : งูสามเหลี่ยม งูสามเหลี่ยมเรียก งูทำทาน เป็นงูมีพิษ ลายเป็นปล้องๆ อย่างว่า แนวนามเชื้อทำทานปล้องถี่ คันได้ตอดพี่น้องบ่ทันได้สั่งใผ (กลอน). -
ทำนวย
แปลว่า : ทำนาย เรียก ทำนวย ทวย ก็ว่า อย่างว่า เมื่อนั้นหมอทวยแจ้งทูลธรรม์เทวราช ฮู้บ่พลั้งพรแก้วขาบถวาย (สังข์). -
ทำเนียม
แปลว่า : ฮีต ครอง ประเพณี อย่างว่า เหตุไป่เคยคลองฮู้ทำเนียมในพระราช ผิดถืกให้จอมเจ้าค่อยสอนแด่เนอ (สังข์). -
ทำมะลา
แปลว่า : โรคคอตีบ ชื่อโรคชนิดหนึ่งเมื่อเป็นเศลษม์จะขึ้นมาอัดที่รูคอ หายใจไม่ได้ โบราณเรียก ทำมะลากักกึก ถ้ารักษาไม่ถูกวิธีอาจตายได้ในทันที โบราณให้เอารากมะเฟืองส้ม ฝนใส่เหล้าขาวใช้อมหรือกินก็ได้จะหายทันที. -
ทิก
แปลว่า : ร่อนสะบัด เช่น จะฝัดกากข้าวออก ใช้กระด้งร่อนสะบัด การร่อนสะบัดโบราณเรียก ทิก อย่างว่า กระด้งฝัดเข้าเทียวเด้าแต่โมม สองมือโจมเทิงทิกเทิงฮ่อน ให้กูเด้าเสียก่อนมันจั่งชิไค มันชิทีกำไรกว่าด้งกว่าด้ง (บ.). -
ทิง
แปลว่า : กระบอกใส่น้ำ กระบอกใส่น้ำทำด้วยไม้ไผ่เรียก ทิง บั้งทิง ก็ว่า อย่างว่า คันชิเทียวทางกว้างให้หาฮ่มบังหัว คันชิไปทางไกลไถ่ถงให้มีพร้อม คันชิเทียวทางเวิ้งให้หาทิงบั้งใหญ่ คันชิขึ้นต้นไม้ให้หาท้างปล่องลง (ย่า). -
ทิต
แปลว่า : คำนำหน้าชายที่เคยบวชเป็นพระมาแล้วว่า ทิต คำว่า ทิต น่าจะย่อมาจากคำว่า บัณฑิต เพราะผู้บวชได้ศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม สมควรเรียก บัณฑิต เหมือนบัณฑิตในสถาบันการศึกษาในปัจจุบัน. -
ทิตย์
แปลว่า : ตะวัน วันที่หนึ่งของวันทั้งเจ็ดเรียก วันทิตย์ อาทิตย์ ก็ว่า อย่างว่า ทิตย์พุธเช้า ศุกร์เสาร์งายแก่ จันทร์พระหัสเที่ยงแท้ อังคารค้ายค่ำพาน (โสกวัน).