ภาษาอีสานหมวด "ท" 171 - 180 จาก 449
-
ท้าย
แปลว่า : เบื้องหลังตรงข้ามกับทางหัว เรียก ท้าย เช่น ท้ายเรือ ท้ายแถว. -
ทายก
แปลว่า : ผู้ชายที่ถวายจตุปัจจัยแก่ภิกษุสามเณร เรียก ทายก. -
ทายิกา
แปลว่า : ผู้หญิงที่ถวายจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร เรียก ทายิกา. -
ทารุณกรรม
แปลว่า : การกระทำอย่างโหดร้าย (ส.). -
ทาว
แปลว่า : หยิบชิ้นเนื้อหรือปลาจากน้ำแกง เรียก ทาว เช่น ทาวต่อนปลา ทาวต่อนกบ อย่างว่า แจงแวงน้ำทาวหาบ่เห็นต่อน ซดแต่น้ำคาแข้วแสม่งตาย (กลอน). -
ทาว
แปลว่า : ชักใย ตัวไหมที่ชักใย เรียก ม้อนทาวใย การฟ้อนที่ยกมือขึ้น เรียก ฟ้อนทาวใย อย่างว่า ใผกะได้แต่ฟ้อนคือม้อนทาวใย (ผาแดง). -
ทาว
แปลว่า : ไขว่คว้า แสวงหา หวนกลับมา คนที่ทุกข์จนค่นแค้นไม่มีที่พึ่งพาอาศัย หวนกลับมาหาญาติพี่น้อง เรียก ทาวหา ส่าวหา ก็ว่า อย่างว่า ช้างชิตายทาวเครือ เสือชิตายทาวเหล่า (ภาษิต). -
ท่าว
แปลว่า : ล้ม สยบ อย่างว่า หิวหอดไห้นำท้าวท่าวทวง (กา) อัศจรรย์หมาขบช้างสารแฮงล้มท่าว มาอิดูเมื่อช้างลุกได้หมาชิไห้ต่อสาร (บ.) ดินปลิวขึ้นเมือบนคุมมืด แต่นั้นฝูงลูกน้องนางท้าวท่าวมวล (ฮุ่ง). -
ท้าว
แปลว่า : คำเรียกชื่อลุกชายว่า ท้าว เรียกลุกสาวว่า นาง ถือเป็นคำยกย่องสุภาพกว่าเรียกชื่อจริง. -
ท้าว
แปลว่า : คำนำหน้าลุกเจ้านายหรือผู้มีตำแหน่งในทางปกครอง ว่า ท้าว เช่น ท้าวโพธิสาร ท้าวโพธิราช.