ภาษาอีสานหมวด "ท" 151 - 160 จาก 449
-
ทัวระพี
แปลว่า : ควายป่า คนที่ทรยศต่อที่เกิดของตน เรียกว่า ทัวระพี อย่างว่า มีทังราชสีห์ช้างทัวระพีมอมม่าย (ขุนทึง) ฝูงนี้ปะเปลี่ยวได้ดูดั่งทัวระพี ศรีเฉลียวทางฮ่อนตนโตนเต้น พอดีแล้วเลยแปรหลบนั่ง ปะคุบพาทพร้อมแพงเหล้นบ่นาน (ฮุ่ง). -
ทัวระไพร
แปลว่า : ป่าทึบ ป่าทึบเรียก ทัวระไพร อย่างว่า เหลิงเห็นทัวระไพรชั้นเงินยางล้านส่ำ ฟานเฮ่งฮ้องฮิมถ้ำส่งเสียง (ฮุ่ง). -
ทัวระมาน
แปลว่า : ทรมาน ฝึก อบรม อย่างว่า บัดนี้ข้าจักนับชาติท้าวปางก่อนทัวระมานก่อนแล้ว (ขูลู). -
ทัวระเยศ
แปลว่า : ไกล กันดาร ทางทั้งไกลทั้งกันดารเรียก ทัวระเยศ อย่างว่า ลิวลิวข้ามเขียวทางทัวระเยศ (ฮุ่ง). -
ทัวระไว
แปลว่า : ไปมา เกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิด เรียก ทัวระไว อย่างว่า ขออย่าได้ทัวระไวไปมาอยู่ในโลก ขอให้พ้นจากโอฆะสงสาร (กลอน) ทัวระไวไปมาในเมืองฟ้าแลเมืองคน (เวส). -
ทา
แปลว่า : ดินที่มีเกลือปน เรียก ทา ขี้ทา ก็ว่า เอาดินขี้ทานี้มาต้มเป็นเกลือสินเธาว์. -
ทา
แปลว่า : ไล้ ฉาบ เอาดินเหนียว แกลบ และดินจอมปลวกมาคลุกเข้ากัน แล้วฉาบทายุ้งฉางสำหรับใส่ข้าวเปลือก. -
ท่า
แปลว่า : ฝั่งน้ำสำหรับขึ้นลง เรียก ท่าน้ำ สำหรับจอดเรือ เรียก ท่าเฮือ. -
ทาง
แปลว่า : ถนน สถานที่สำหรับใช้เดินไปมาเรียก ทาง มีทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ อย่างว่า ทางมีหลายเส้นตามใจชิเลือกไต่ มักเส้นโค้งโงเงี้ยวก็หากมี (กลอน). -
ท้าง
แปลว่า : ทางเดินของร่างกายและจิตใจเรียก ท้าง ทาง ก็ว่า อย่างว่า เจ้าผู้ไซหลายท้างทางยามหลายปล่อง พุ้นก็ท้าง พี้ก็ท้าง ไหลเข้าซู่ทาง (กลอน) อย่าให้เขินขาดแห้งต้นท้างที่ชิไหล (กา) คันบ่ไขปล่องท้าง ทางนั้นชิขาดเขิน (กลอน).