ภาษาอีสานหมวด "ท" 131 - 140 จาก 449

  • ทัง
    แปลว่า : ทั้ง และ กับ เช่น กินทังเข้าทังปลา เฮ็ดทังนาทังไฮ่ เลี้ยงทังเป็ดทังไก่ ไล่ทังงัวทังควาย อย่างว่า ทังหลายเผิ่นเมาเหล้ากัญชายาฝิ่น พี่นี้เมาแม่ฮ้างแม่หม้าย ปานเอ้าอูดกระแต (ผญา).
  • ทั่ง
    แปลว่า : แท่งเหล็กใช้รองตีมีดพร้า เรียก เหล็กค้อนทั่ง เหล็กก้อนทั่ง ก็ว่า.
  • ทังโทม
    แปลว่า : ทั้งหมด ทั้งสิ้น อย่างว่า เห็นแจ่มเจ้ามรณาตทังโทม (กา) วางเมืองกว้างทังโทมสินช่อย (สังข์).
  • ทัด
    แปลว่า : เหน็บ เอาดอกไม้เหน็บหู เรียก ทัดหู อย่างว่า สาวก็ทัดดอกไม้งามระห้อยยิ่งเขียน (กา) จักทานทัดใส่เกล้าเกษาหอมยิ่ง กรรณิกาสุดแหล่งหล้าจักมีแห่งใดดาดูยากพระเอย หกแห่งสวรรค์นครฟ้าบ่เปรียบได้เถิงสอง (ฮุ่ง).
  • ทัดเที่ยง
    แปลว่า : เที่ยงตรง แน่นอน อย่างว่า บัณฑิตล้ำธรงธรรมทัดเที่ยง ก็หากหายากแท้ในพื้นแผ่นดิน บาดว่าคนชั่วช้าหีนะโหดแนวพาล มันหากมีมูนมองทั่วแดนดินด้าว (ย่า).
  • ทัน
    แปลว่า : พุทรา ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งมีหนาม ใบเล็ก มีผลกินได้ เรียก หมากทัน.
  • ทัน
    แปลว่า : เร็ว ถึง ทำอะไรทำได้เร็ว เรียก ทัน เช่น ย่างทัน ไปทัน มาทัน อย่างว่า ทันควายทันเมื่อขี้ ทันหนี้ทันเมื่อคาม (ภาษิต).
  • ทัน
    แปลว่า : เชิญหรือเรียกให้มา เรียก ทัน อย่างว่า พระก็ทันหมอโหรเทียวมามีช้า แต่นั้นหมอโหรฟ้าวพลันเปืองเฮวฮีบ เมือสู่ห้องโฮงกว้างขาบทูล (ขูลู).
  • ทันตา
    แปลว่า : ฟัน อย่างว่า เล็งที่ทันตาแม้งมหานิลเงาเงี่ยง งามเด ซ้องซุ่มเกล้าตะเกิงหน้าแข่งเขียว (ผาแดง).
  • ทับ
    แปลว่า : ที่อยู่ชั่วคราวในป่า โดยปลูกเป็นที่พักสำหรับคนพักเรียก ทับคน ที่พักม้าเรียก ทับม้า ที่พักช้าง เรียก ทับช้าง.