ภาษาอีสานหมวด "บ" 151 - 160 จาก 557
-
บะ
แปลว่า : ชายป่า ป่าละเมาะ ชายป่าเรียก บะ อย่างว่า ขึ้นไปโคกป่าหว้าบะป่าเปล้า พราหมณ์เถ้าอ่านหนังสือ ว่าหอมดอกจิกคึดฮอดบ้านหลัง เดนอ หอมดอกฮังคึดฮอดบ้านเก่า เดนอ หอมดอกขัดเค้าคือชิเถ้าบ่เป็น (กลอน). -
บะ
แปลว่า : บนบาน การขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลบันดาลให้ได้สิ่งซึ่งปรารถนา เรียก บะ อย่างว่า ดอกหนึ่งได้สะง้าจิ่งบนบาน บ่หมายแหนงสงสารท่านอ้าง ดวงหนึ่งเมื่อลมพานพัดกิ่ง เป็นฮูปลอยลงล้างแผ่ท้าวรามเกียรติ์ (ฮุ่ง). -
บ๊ะ
แปลว่า : บ๊ะ บ๋า หรือบู๋ ก็ว่า อย่างว่า บ๋าฝันคืนนี้ฝันหลดฝันหลาด ฝันว่าเพิ่นนี้จูงแขนเข้าพาขวัญเกาะก่าย ฝันว่าเพิ่นนี้จับไข่ป้อนปันให้แก่เฮา เหมิดกระบวนแล้วคนเมือเกลี้ยงอ่อยห่อย ฝันว่าน้องพี่จับจ่องนิ้วเอาอ้ายเข้าบ่อนนอน (ประเพณี). -
บังเกิด
แปลว่า : เกิด มีขึ้น เป็นขึ้น อย่างว่า อันหนึ่งหลิงหาก้ำอนตายบังเกิด ให้ฮีบม้างเมื่อน้อยยายั้งย่ำเสีย พระเอย (สังข์). -
บังคม
แปลว่า : เคารพ ไหว้ อย่างว่า บางพ่องเข้าแทบใกล้หัตถบาศบังคม เขาก็หอมเทพีสว่ายสรงเสยแล้ว เลยเล่าปุนความให้หาลัวเถ้าแก่ ยอใส่ด้งกระเบียนแก้วผอกผี (ฮุ่ง) บังคมแล้วลาเมือเอิ้นสั่ง คนิงฮอดฟ้าพระอินทร์ท้าวที่ยำ (สังข์). -
บังบด
แปลว่า : คนที่อาศัยอยู่ตามป่าหรือภูเขาหายตัวได้ เรียก บังบด ผีบังบด ก็ว่า อย่างว่า น้องช่างทำบังบดให้เฮียมตายย้อนนี้เด (สังข์). -
บัญชร
แปลว่า : กรง ซี่กรง หน้าต่าง (ป. ส. ปญชร). อย่างว่า ภูมีเข้าบัญชรนิทเน่ง (กา) พระก็ผายเบ็งชรเป่งปรางค์เกยแก้ว (ฮุ่ง). -
บัณฑิต
แปลว่า : ผู้ทรงความรู้ ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ อย่างว่า บัณฑิตล้ำธรงธรรมทัดเที่ยง ก็หากหายากแท้ในพื้นแผ่นดิน บาดว่าคนชั่วช้าหีนะโหดแนวพาล ก็หากมีมูลมองทั่วแดนดินด้าว (ย่า). -
บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์
แปลว่า : แท่นหินมีสีดุจผ้ากัมพลเหลือง เป็นที่สถิตของพระอินทร์ อย่างว่า บัณฑุกัมพลาหินแท่นพระอินทร์เลยกระด้าง (ผาแดง). -
บัดนี้
แปลว่า : เดี๋ยวนี้ ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ เรียก บัดนี้ บาดนี้ ก็ว่า อย่างว่า ก็หากทัวระคีกสร้อยสมรมิ่งมาไกล กี่เดตัวพลอยคือคู่ฮาฮามหน้า บัดนี้ในทวงฮ้อนคือไฟลนลวก เยื้อนข่ำผ้าทังซ้องซ่อยแฮง (ฮุ่ง).