ภาษาอีสานหมวด "บ" 191 - 200 จาก 557
-
เบิก
แปลว่า : เปิด ทำให้กว้าง เปิดออก ขอให้จ่าย ให้การเป็นพยานเรียก เบิกความ แช่มชื่น สว่างใจ เรียก เบิกบาน นำพยานไปให้การเรียก เบิกพยาน เบิกพิยาน ก็ว่า. -
เบิก
แปลว่า : ขับ ไล่ อย่างว่า เพราะเพื่อปิตุราชเจ้าใจฮ้ายเบิกหนี (กา) เทื่อนี้พ่อเบิกเว้นเวียงใหญ่พลอยผาง นี้แล้ว (สังข์) ความผิดบ่มีท่อก้อยชาวบ้านชิเบิกหนี (เวส-กลอน). -
เบิกแพนก
แปลว่า : จุดบั้งไฟ ขุดบั้งไฟเรียก เบิกแพนก อย่างว่า กับทังเบิกแพนกพร้อมวันซ้ำส่งบุญ (ผาแดง). -
เบิ้ง
แปลว่า : บ้าง (โคราช). -
เบี้ย
แปลว่า : หอยจำพวกหนึ่งหลังนูน ท้องเป็นร่องๆ เปลือกแข็ง โบราณใช้เบี้ยนี้เป็นเงินสำหรับซื้อขาย มีอัตรา 100 เบี้ยเป็น 1 อัฐ คนจึงเรียก เงินเบี้ย ติดปากมาจนทุกวันนี้. -
เบี้ย
แปลว่า : จำนวนเงิน 2 บาท เรียก 1 เบี้ย เขยที่ล่วงเกินประเพณี พ่อตาแม่ยายจะปรับเป็นเงิน 1 เบี้ย คือ ปรับ 2 บาท อย่างว่า สิบเบี้ยอยู่ฟากน้ำอย่าโอ้อ่าวคนิงหา สองสลึงมามือให้ค่อยกำเอาไว้ (กลอน). -
เบี้ยโบก
แปลว่า : การพนันอย่างหนึ่ง ชักเบี้ยเข้ากระบอกแล้วให้ลูกมือแทง. -
เบี้ยหวัด
แปลว่า : เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจำการ จ่ายให้เป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม. -
เบี่ยง
แปลว่า : ผ้าสำหรับใช้ห่มเฉลียงบ่า เรียก ผ้าเบี่ยง อย่างว่า เนื้อฮาบเกลี้ยงคันธชาติบัวบาน เกสีฉลวยลูบมันมวยตั้ว คีงเคียนแก้วสายแสงประดับดาด สะใบเบี่ยงผ้าแดงด้ามดอกคำ (สังข์). -
เบี่ยง
แปลว่า : ห่มผ้าเฉวียงบ่า เรียก ห่มผ้าเบี่ยง.