ภาษาอีสานหมวด "บ" 201 - 210 จาก 557
-
เบี่ยง
แปลว่า : บัง ปิด อย่างว่า สูอย่าได้เบี่ยงถ้อยบนชื่อไขกลอน (กา) แล้วค่ำส้วยแสงเบี่ยงบังเขา ฮมฮมชาวเป็งจาลป่าวขุนหาญห้าว เขาก็หวังสุขย้อนบาบุญบุตราช คบหนึ่งวันวิ่งค้ายคาข้อนขอบเสมร (สังข์). -
เบียด
แปลว่า : เบียดเบียน บีบคั้น อย่างว่า ทุกข์เพื่อคึดเกี่ยวแก้วน้องพี่ทังเจ็ด เวราใดเบียดบังเบียนข้อย บัดนี้บุญแข็งข้วมเวราไลโทษ น้องค่อทรงสืบสร้างสินซ้อยซ่อยเฮา พี่ถ้อน (สังข์). -
เบียน
แปลว่า : กระเบียน กระเบียนเรียก เบียน กระด้ง ก็ว่า อย่างว่า ยอใส่ด้งเบียนแก้วผอกผี (สังข์). -
เบียน
แปลว่า : รบกวน ทำให้เดือดร้อน เบียดเบียน อย่างว่า ท่อว่า เจี้ยมนี้น้อยฮอยเปล่าเบียนหนัก เยียวว่าราชาเห็นเหตุพลางภายหน้า ตาเสม่นนั้นลางหลากภายลุน ฮอยจักมีชายเซ็งแต่งเติมตามเจ้า (สังข์). -
เบี่ยน
แปลว่า : รีดขี้ออกจากไส้ ไส้ขี้กบ เรียก เบี่ยนขี้กบ ไส้ขี้อึ่ง เรียก เบี่ยนขี้อึ่ง อย่างว่า เขาก็จาเบี่ยนไส้กลแกล้มมี่นัน (สังข์). -
เบื้อง
แปลว่า : ข้าง ฝ่าย ทิศ ทาง อย่างว่า ท้าวปั่วไท้เบื้องฝ่ายโกศล ก็หนี ยนยนปลดเตี่ยวลอยลงน้ำ ทังตนเจ้านครอินทร์ตางราช ก็หนี เขาบ่พร้อมพลไว้ช่อยอวน (ฮุ่ง). -
เบือน
แปลว่า : คด ไม่ตรง เช่น คนตาเหล่ เรียก คนตาเบือน อย่างว่า ตาบอดอย่าให้อยู่ฮ่วมเฮือน ตาเบือนอย่าให้อยู่ฮ่วมบ้าน คนขี้คร้านอย่าเอาเป็นหมู่เป็นฝูง (ภาษิต). -
เบือน
แปลว่า : บิด ผัน หัน เห อย่างว่า มาทำเบือนใส่ตูอายหน้า (กา). -
แบ้
แปลว่า : แพะ แพะ เรียก แบ้. -
แบ้
แปลว่า : บัวผันเรียก บัวขี้แบ้ บัวอี่แว้ ก็ว่า อย่างว่า บัวขี้แบ้มาเกิดกลางหนอง บัวทองมาเกิดก้ำหัวสวนบ้านเก่า ที่เลิกมาแล่นตื้นชิไปห้งบ่อนเขิน กาดำบินด่วนดั้นสะยานไปลิวลอด ภูใหญ่ผาแผ่นล้านตัวต้อยต่ำปู ปลากั้งฮู้บินบนโพยมเมฆ กระต่ายฮู้ฮ่ำฮ้องขันท้าหมู่กระทา.