ภาษาอีสานหมวด "บ" 61 - 70 จาก 557
-
บัก
แปลว่า : ฟันไม้ให้คอดหรือให้กิ่ว เรียก บัก เช่น บักกกมี้ บักกกม่วง บักกกทัน. -
บักแบ่น
แปลว่า : เล็ง หมาย การเล็งหรือหมายเรียก บักแบ่น อย่างว่า หมอลำนี้ความมีหาใส่ บ่ได้บักแบ่นหน้ามือชี้ใส่ใผ (กลอน). -
บัง
แปลว่า : บาง ลำห้วย ลำคลอง ทางที่มีน้ำไหลเป็นลำห้วยลำคลองเรียก บัง เช่น บังอี่ บังมุก บังทราย เป็นต้น. -
บั้ง
แปลว่า : กระบอกไม้ไผ่มีฝาปิด ใส่เกลือ เรียก บั้งเกลือ ใส่แจ่ว เรียก บั้งแจ่ว ใส่น้ำ เรียก บั้งทิง กระบอกไม้ไผ่ยาว 3-4 ปล้อง ที่ปากมีงาแซงสำหรับใส่เอี่ยน เรียก บั้งลัน สำหรับใส่ใบลานที่จดวันเดือนปีเกิดเรียก บั้งซาตา. -
บั้ง
แปลว่า : ต้นกล้าแก่จนเป็นปล้องเรียก กล้าบั้ง. -
บัด
แปลว่า : หญ้าอ่อน หญ้าที่งอกขึ้นใหม่ เมื่อถูกฝนในระยะเดือน 5-6 เรียก หญ้าบัดป่ง. -
บัด
แปลว่า : ไม่ได้ที่ ไม่เพียงพอ เช่น ข้าวที่แช่ใช้เวลาสั้นเกินไป เมื่อนำข้าวไปนึ่งหรือหุงแล้วข้าวไม่สุกยังเป็นท้องเม็น เรียก เข้าหม่าบัด. -
บั่ว
แปลว่า : หัวหอม หัวหอมเรียก ผักบั่ว มีหลายชนิด ชนิดมีหัวก็มี ไม่มีหัวก็มี ชนิดมีหัวสีแดงเรียก ผักบั่วแดง สีขาวเรียก ผักบั่วขาว ชนิดไม่มีหัวเรียก ผักบั่วเลย. -
บั่ว
แปลว่า : ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งเรียก หญ้าบั่ว ชอบเกิดตามหนองน้ำ ใบคล้ายใบผักบั่วแต่แข็งกว่า. -
บั่ว
แปลว่า : ขนที่ขึ้นอยู่ตามร่างกายทั่วไป มีลักษณะอ่อน เรียก ขนบั่ว.