ภาษาอีสานหมวด "บ" 71 - 80 จาก 557
-
บา
แปลว่า : ใช้นำหน้าชื่อผู้ชาย เรียก บา อย่างว่า ประดับส่ำข้าถือดาบตาวตาม บาก็เกรงใจไปสู่นางเดินดั้น แม้งหนึ่งเถิงสถานกว้างดอนงามแฮงจอด คอนก็เซาแง่ชั้นทางน้อยล่วงดอน (ฮุ่ง). -
บา
แปลว่า : เว้น เช่น ไข้หนึ่งวันเว้นหนึ่งวัน เรียก ไข้บาวัน. -
บ้าย
แปลว่า : เบี่ยง เฉียง เช่น ห่มผ้าเฉียงบ่าเรียก ห่มผ้าเบี่ยงบ้าย อย่างว่า คีงบางบิงเบี่ยงสะใบนวลเนื้อ (กา). -
บาย
แปลว่า : ข้าว (ข.). -
บาย
แปลว่า : จับ หยิบ ฉวยเอา อย่างว่า ชิถิ้มกะเสียดาย ชิบายกะขี้เดียด (ภาษิต) บายแม่นแล่นหนี บายผิดติดมือ (ภาษิต) ชาติที่ของอยู่ใกล้มือแล้วช่างบาย (กา) มารดาหายกังวลชื่นบานบายนิ้ว (สังข์). -
บ่าย
แปลว่า : เวลาระหว่างเที่ยงกับเย็น เรียก เวลาบ่าย ตาเว็นค้าย ก็ว่า อย่างว่า พอเมื่อวันเวียนค้ายลับเหลี่ยมเสาเสมรุ (สังข์). (กริยา) คลุก เอาข้าวเหนียวคลุกเกลือเรียก บ่ายเกลือ อย่างว่า ปลาดุกปิ้งเต็มไฟบ่อยาก สังมาดะดั่นดิ้นกินเข้าบ่ายเกลือ (ผญา). -
บ่าย
แปลว่า : คลุก เอาข้าวเหนียวคลุกเกลือเรียก บ่ายเกลือ อย่างว่า ปลาดุกปิ้งเต็มไฟบ่อยาก สังมาดะดั่นดิ้นกินเข้าบ่ายเกลือ (ผญา). -
บือ
แปลว่า : สะดือ สะดือเรียก บือ สายบือ ก็ว่า. -
บุ
แปลว่า : โผล่ขึ้น เช่น เห็ดโผล่ขึ้นจากดินเรียก เห็ดบุ พวกนาคพากันขุดเจาะก่นดินให้เป็นแม่น้ำเรียก บุ อย่างว่า พากันบุบุ่นพื้นเป็นแม่น้ำหลวง (ผาแดง). -
บุ
แปลว่า : ลุย ฝ่าไป การเดินทางโดยบุกป่าฝ่าดงโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง ค่ำไหนนอนนั้น เรียก บุ อย่างว่า พอคราวแล้วบุดงดั้นป่า ชิพาแก้วแก่นหล้าเดินดั้นดุ่งไพร (กลอน).