ภาษาอีสานหมวด "บ" 91 - 100 จาก 557
-
เบื่อ
แปลว่า : เมา เมาอาหารเรียก เบื่ออาหาร เมาเหล้าเรียก เบื่อเหล้า อย่างว่า บ่มีใผจำใจเจ้าให้กินสารของเบื่อ เจ้าหากเป็นผู้ฮู้สังเป็นบ้าเล่ากิน (กลอน). -
เบื้อ
แปลว่า : รู้สึกเหนื่อยหน่าย ระอาใจ อย่างว่า บางพ่องหน้าบ่าเบื้อกลัวเกิดอลหน วางการเก็บลูกเมียโฮมห้อง เมื่อนั้นขุนหลวงท้าวทูลธรรม์เทวราช ผู้ที่เหง้าฟังแจ้งฟั่งใจ (สังข์). -
แบ่น
แปลว่า : ขว้าง ปา ขว้างหรือปาเรียก แบ่น เช่น แบ่นหมากม่วง แบ่นหมากมี้ แบ่นหมากไฟ แบ่นหมากแงว. -
แบ้น
แปลว่า : อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายหรือของสัตว์ตัวผู้เรียก แบ้น อย่างว่า แบ้นเข้าบ้านถามข่าวหาหี ทางไปหนองคันหนองคายอยู่ที่ใดเดน้อง (เจียง). -
โบก
แปลว่า : ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง ใช้เบี้ย 4 อันใส่ในกระบอก เขย่าแล้วคว่ำลง ให้ผู้เล่นทายว่าคีกหรือคู่ เล่นเอาทรัย์สินกัน เรียก เล่นโบก. -
โบก
แปลว่า : กระบอกไม้ไผ่ที่ขังข้อตัดเป็นท่อนสั้นๆ เรียก โบก สำหรับตักน้ำเรียก โบกน้ำ สำหรับม้วนเส้นไหมเรียก โบกไหม สำหรับใส่ไม้เจียเรียก โบกไม้เจีย. -
โบกขรพรรษ
แปลว่า : ฝนดุจน้ำตกลงในใบบัวใครอยากให้เปียกก็เปียก ไม่อยากให้เปียกก็ไม่เปียก อย่างว่า พอคราวแล้ววัสสะฝนขรโบก ตกใส่พื้นดินถ้วมหลั่งไหล อันว่าคนในพื้นชุมพูภายลุ่ม เทียรย่อมอยากชุ่มแห้งเป็นได้ดั่งใจ แท้แล้ว (เวส-กลอน). -
บ่าว
แปลว่า : คนใช้ ชายหนุ่ม เรียกชายที่เข้าในพิธีสมรสว่า เจ้าบ่าว คู่กับหญิงผู้เข้าพิธีสมรสว่า เจ้าสาว ข้าทาสบริวารเรียก บ่าวไพร่ อย่างว่า อาฮมดิ้นดวงแดดิ้นเกี่ยวภายยี่ผู้ใจแจ้งบ่าวบา (ฮุ่ง). -
บ้ำ
แปลว่า : บุม บุ๋ม รอยลึกลงไปเรียก บ้ำ อย่างว่า มีปากบ่มีแข้วพร้อม คางชิบ้ำฮอดดัง (ย่า) แฮ่งทุกข์แฮ่งซ้ำ หีบ้ำถืกโคยกิ (ภาษิต). -
บิ
แปลว่า : ทำให้หลุดออกด้วยนิ้วมือ เรียก บิ บี่ ก็ว่า เช่น บิหมากมี้ บิหมากม่วง อย่างว่า บาก็บายเอาได้ผลผลามาบี่ (ขุนทึง).