ภาษาอีสานหมวด "บ" 101 - 110 จาก 557

  • บิ่น
    แปลว่า : หลุดออก แตกออก แตกออกนิดๆ เรียก บิ่น อย่างว่า กล้าหวายมันบิ่น (ภาษิต).
  • บิ้น
    แปลว่า : อาการที่น้ำไหลออกจากรูเล็กๆ เรียก ไหลบิ้นบิ้น ไหลออกจากรูใหญ่เรียก ไหลบุ้นบุ้น บึ้นบึ้น ก็ว่า.
  • บี
    แปลว่า : ดี ถุงน้ำดีที่มีรสขมเรียก บี มีบีงัวบีควาย อาหารจำพวกลาบต้องใส่บีจึงจะมีรสอร่อย ถ้าไม่ใส่บีไม่อร่อย อย่างว่า ลาบให้แซบต้องใส่เพี้ยกับบี ถ้าบ่มีถิ้มให้ผีมันกินดีกว่า (บ.).
  • บี่
    แปลว่า : บิ คลี่ เช่น บิผลไม้ออกเป็นชิ้นๆ เรียก บี่ อย่างว่า บาก็บายเอาได้ผลผลามาบี่ (ขุนทึง).
  • บืน
    แปลว่า : เสือกไป ไสไป คืบไป ใช้อกเสือกไป เรียก บืน เช่น งูบืน ปลาบืน อย่างว่า มันหากเหลือแฮงแล้วปลาบืนยามเดือนสี่ เงี่ยงกะหลุ้ยคุยกะล้มปานนั้นว่าบ่บืน (กลอน).
  • บุง
    แปลว่า : กระบุง ภาชนะที่สานด้วยตอกไม้ไผ่เรียก บุง มีเชือกเป็นสายใช้หาบหรือหิ้ว ใส่ข้าวเปลือก ข้าวสาร หรือสิ่งของ อย่างว่า บุงบ่มีสายชิเกิดเป็นทอฮ้าง (ย่า).
  • บุ่ง
    แปลว่า : ที่ลุ่มติดกับลำน้ำ ฤดูน้ำมีน้ำขังอยู่คล้ายบึงหรือหนอง เรียก บุ่ง เช่น บุ่งใหม บุ่งกาแซว บุ่งค้า.
  • บุ้ง
    แปลว่า : ผักบุ้งมี 3 ชนิดคือ ผักบุ้งธรรมดา ผักบุ้งจีน ผักบุ้งช้าง ผักบ้ง ก็ว่า.
  • บุ่น
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เป็นไม้เถาเลื้อยขึ้นตามต้นไม้ เรียก เครือบุ่น.
  • บุ่น
    แปลว่า : ตุ่ย ยุ้ย แก้มที่มีลักษณะสวยงามไม่โตและไม่บางเรียก แก้มจุ่นบุ่น อย่างว่า แก้มจุ่นบุ่นแก้มน้องจุ่นบุ่น บุญคาดได้พี่กะจั่งชิเอา บุญหัวพาเซาชิเว้าเจ้าเปล่าเปล่า บ่เอาแล้ว (กลอน).