ภาษาอีสานหมวด "บ" 81 - 90 จาก 557

  • บุ
    แปลว่า : เผา สุม (ส่วย).
  • บุ้น
    แปลว่า : น้ำพุ่ง น้ำที่พุ่งออกจากพื้นดิน พุ่งไหลอยู่ตลอดเวลา เรียก น้ำบุ้น.
  • บุ้ม
    แปลว่า : บุ๋ม แก้มบุ๋มเรียก แก้มบุ้ม.
  • บุ๋มบุ๋ม
    แปลว่า : มีเสียงดังอย่างนั้น.
  • เบิ่ง
    แปลว่า : จ้องดู มองดู แหงนหน้าดู อย่างว่า นางก็ส่องเบิ่งหน้าแล้วเล่าเลยหัว มึงท่อมาเวียนจาอยู่สังฉันนี้ คันว่านานหนีแท้ขุนมารชิมาฮอด มันจักจับปิ่นแป้เป็นเหมี่ยงเมื่อเย็น แท้แล้ว (สังข์).
  • เบิด
    แปลว่า : แหงนหน้าดู อย่างว่า อย่าได้เบิดเท้อเล้อมันชิล้าเมื่อยคอ (ย่า).
  • เบือ
    แปลว่า : ข้าวสารเหนียวคั่วไฟให้เกรียมแล้วตำให้ละเอียด เรียก เข้าเบือ (ข้าวคั่ว) เข้าเบือนี้คล้ายผงชูรส ทำให้อาหารมีรสอร่อย เข้าเบือใส่แกงหน่อไม้อร่อยแซบนักแล.
  • เบือ
    แปลว่า : ไม้ตีพริกเรียก เบือ สากกะเบือ ก็ว่า สากกะเบือใช้ตำป่น ตำแจ่ว และตำสารพัดอย่าง.
  • เบือ
    แปลว่า : ยาที่มีรสเบื่อเมา กินเข้าไปแล้วเบื่อเมา เรียก ยาเบื่อ.
  • เบือ
    แปลว่า : กินยาเข้าไปแล้วมีรสเบื่อเมา เรียก กินยาเบือ อย่างว่า ซาตาข้อยของคนกินข้อยกะเบื่อ หมกปลาซิวใส่ดอกติ้วกินแล้วผัดดากดำ (ภาษิต).