ภาษาอีสานหมวด "บ" 111 - 120 จาก 557

  • บุ่น
    แปลว่า : เจาะ ไช ด้วงที่เจาะไม้เรียก ด้วงบุ่น อย่างว่า ชาติที่ปูหากบุบุ่นท้าง ปลาหล้างชิล่องตาม (สังข์).
  • บง
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มียางเหนียว ใช้เปลือกแช่น้ำผสมกับน้ำต้มหนังคลุกหินปูน ใช้ก่ออิฐถือปูนในการทำตึกทำโบสถ์ หรือบดเครื่องหอมให้ละเอียดแล้วแช่ยางบงให้เหนียวจุ่มไม้ไผ่ที่ทำก้านลงทำเป็นประทีปหรือธูปสำหรับบูชา.
  • บง
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ไผ่ชนิดหนึ่ง เรียก ไม้ไผ่บง ไม้บง ก็ว่า ไม้ไผ่ชนิดนี้ไม่มีนาม ปล้องยาว ใช้สานกระติบใส่ข้าวเหนียว หรือทำมวยนึ่งข้าวเหนียว อย่างว่า ผ่อเห็นบงซางเฮี้ยเฮียงกอกางกิ่ง (สังข์).
  • บง
    แปลว่า : ชำ ปลูก การเอากล้าไปชำหรือปลูกเรียก บง อย่างว่า อย่าเลี้ยงหมากหลง อย่าบงเข้าเฮื้อ (บ.).
  • บ้งมั่ง
    แปลว่า : สันพร้านางหอม ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นบ้งมั่ง.
  • บ้งเล็น
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง มีผลใช้กินได้ เรียก เครือบ้งเล็น.
  • บด
    แปลว่า : มืด คลึ้ม ไม่มีแดด เวลาที่พระอาทิตย์ไม่ส่องแสงเรียก บด อย่างว่า มหาเมฆเค้าคนงเน่งบังบด สุรภาเอียงอ่วยแลงลงไม้ วันนั้นอาทิตย์จรจันทร์แจ้งเดือนสามสัตพีช ฉลูฮูปเนื้อเนาซ้อยชอบยาม (สังข์).
  • บทเฮียน
    แปลว่า : บทเรียน ข้อที่ควรศึกษาให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เรียก บทเฮียน.
  • บน
    แปลว่า : เหนือ สูง สิ่งที่อยู่เหนือหรือที่สูงเรียก บน อย่างว่า จิตบ่มีที่แขนแนนบ่มีที่ห้อยบินบนเสมอว่าว จิตบ่มีที่ยั้งเสมอน้ำหลั่งไหล (ผญา).
  • บน
    แปลว่า : บอก บอกกล่าวเรียก บนบอก อย่างว่า เมื่อนั้นราชาต้านขานมณีบนบอก (กา) โขโนต้านบนสวางชี้ฮ่าง (กา).