ภาษาอีสานหมวด "ป" 111 - 120 จาก 753
-
ประจวบ
แปลว่า : ประสบ พบ เห็น อย่างว่า ประจวบได้ฃัยฤกษ์มหาดิถี อังคารแข็งชอบยามแวนแจ้ง นาทีล้ำเถิงแถใล้ฮุ่ง นางก็ประสูติแก่นแก้วงามแม้งลูกแม่น (ฮุ่ง). -
ประจำ
แปลว่า : เป็นปรกติ เสมอ เช่น มาเป็นประจำ นั่งเป็นประจำ อย่างว่า ทั้งสิบนี้ทศพิธราชธรรม ใผผู้เป็นราชาครอบครองเมืองบ้าน มีธรรมนี้ประจำใจใช้ช่วง ก็จักหายเดือดฮ้อนเมืองบ้านชุ่มเย็น (สังข์). -
ประจำเมือง
แปลว่า : ชื่อดาวพระศุกร์ที่ขึ้นในเวลาหัวค่ำ. -
ประจิตร
แปลว่า : งาม อย่างว่า เห็นอ่อนน้อยเนฮูปราชสีห์ งวงงาประจิตรดั่งคำคือแต้ม อาการนี้เห็นมามีต่าง ว่าจักไหลล่องน้ำเสียแท้ดั่งรือ นี้เด (สังข์) พันนางเมี้ยนมาชุมซ้องพระเนตร ประจิตรแผ่เผี้ยนผิวเกลี้ยงเกิ่งสวรรค์ (สังข์). -
ประจิม
แปลว่า : ทิศตะวันตก ทิศปัจฉิม ก็ว่า อย่างว่า นาหลายเบื้องปัจฉิมสามหมื่น แดนฮอดตั้งผาหลอดกวานแต (ฮุ่ง). -
ประจุ
แปลว่า : บรรจุ ใส่ เช่น ใส่กระดูกในธาตุ เรียก ประจุดูก อย่างว่า แล้วจิ่งถวายเพลิงท้าวกุมภัณฑ์สมซ่า ประจุดูกไว้ทันหั้นจิ่มเมือง (สังข์). -
ประจุบัน
แปลว่า : ปัจจุบัน (ป. ปจฺจุปฺนฺน). -
ประแจ
แปลว่า : กุญแจ กระแจ ก็ว่า. -
ประชิด
แปลว่า : เข้าถึงตัว เข้าชิดตัว อย่างว่า ขุนแขกเมี้ยนนบบาทประชิดเชียง ถวายเงินตราหมื่นคำพันก้อน เมื่อนั้นขวาขวาท้าวกามหากษัตริย์ใหญ่ ชมชื่นต้านถามถ้วนซู่คลอง (สังข์) ลำลำท้าวเชยชิมประชิดพ่างแล้วบอกแจ้งผายเผี้ยนบ่บัง (ฮุ่ง). -
ประดับ
แปลว่า : ตกแต่งให้งามด้วยสิ่งของต่างๆ มีสร้อย แหวน เป็นต้น อย่างว่า ประดับช่อฟ้ามุงมาศดาวคำ มุงทองแดงหล่อตันตางฝ้า มเหสีแก้วจันทาเทียมราช งามยิ่งย้อยปุนปั้นแปกเขียน (สังข์).