ภาษาอีสานหมวด "ป" 121 - 130 จาก 753

  • ประดา
    แปลว่า : บรรดา ทั้งหมด ทั้งสิ้น อย่างว่า เมื่อนั้นเจ็ดแจ่มเจ้าน้อมแน่งประณมกร เค็งเค็งชาวเป็งจาลแต่งปุนประดับไว้ ทุกประดาน้อมทูลธรรมเทวราช ปุนบอกให้เตินตั้งแต่งลิน (สังข์).
  • ประแดง
    แปลว่า : ใช้เรียกคนที่บวชเป็นพระครบ ๕ พรรษาขึ้นไป แต่ไม่ได้รับเถราภิเษกแล้วสึกออกมา เรียก ผแดง ผาแดง ก็ว่า.
  • ประตู
    แปลว่า : ช่องทางเข้าออกของบ้านเรือน เรียก ประตู ปักตู ก็ว่า อย่างว่า เคหังห้องปักตูทวารบ่มีเป่ง (กา).
  • ประถม
    แปลว่า : ลำดับแรก เบื้องต้น อย่างว่า ยุติประถมปั้นนิทานธรรมเถ้ากล่าว แล้วท่อนี้ถวายไว้ที่ยำ ก่อนแล้ว (สังข์) แม่จิ่งจำพรากชั้นโดยดั่งปางประถม โฉมเชียงครานบ่กว่าแพงกูฮู้ ฟังยินฮมฮมฟ้าเทิงหัวฮ้องฮ่ำ แม่สั่งผู้ใจแจ้งจื่อจริว (ฮุ่ง).
  • ประถีบ
    แปลว่า : ดั้งเดิม ผัวเมียดั้งเดิมเรียก กับประถีบ อย่างว่า บัดนี้นางคราญน้อยเมียขวัญกับประถีบ (กา).
  • ประทม
    แปลว่า : บรรทม การนอนของเจ้านายเรียก บรรทม ผทม ก็ว่า.
  • ประทวน
    แปลว่า : จัด เตรียม อย่างว่า ประทวนพลเสด็จล่วงเมือปรางค์แก้ว (กา).
  • ประทัย
    แปลว่า : ใจ อย่างว่า เคืองประทัยท้าวคนิงหลังทังโศก (กา).
  • ประทาน
    แปลว่า : ให้ เจ้านายให้ของเรียก ประทาน อย่างว่า เถิงเมื่อเดือนหกให้ประทานของหลายแห่ง เลี้ยงหมู่หม้ายหอมไฮ้จิ่งควร แท้ดาย (สังข์).
  • ประทาย
    แปลว่า : ค่าย ป้อม (ข.).