ภาษาอีสานหมวด "ป" 141 - 150 จาก 753
-
ประยูร
แปลว่า : เผ่าพันธุ์ เชื้อสาย คระกูล อย่างว่า พระก็เยื้อนอย่างขึ้นธรรมาสน์หอสูง มณีโชติมุงม่านลายเลียนแต้ม มือถือด้ามวีชนีตั้งท่า หมายโผดเจ้าจอมเหง้าญาติประยูร (เวส-กลอน). -
ประโยค
แปลว่า : คำพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอนหนึ่งๆ เรียก ประโยค อย่างว่า เป็นดั่งใยบัวข้องพลายสารสมประโยค (ป. ปโยค). -
ประโยชน์
แปลว่า : สิ่งที่ใช้ได้ สิ่งที่ได้รับผล (ป. ปโยชน) อย่างว่า เทื่อนี้กูแอ่วได้โดยประโยชน์อันคนิง แลเด มันก็ฮวายอาคมผาบผีชุมเชื้อ เมื่อนั้นผีเมืองย้านยักโขขามเดช เลยเล่าละหน่อแก้วกลางห้องพ่ายพัง (สังข์). -
ประโรหิต
แปลว่า : ปุโรหิต พราหมณ์ผู้เป็นที่ปรึกษาของกษัตริย์ (ป. ส. ปุโรหิต) อย่างว่า สะพรั่งพร้อมพราหมณาสประโรหิต (สังข์). -
ประเล้าประโลม
แปลว่า : ปลอบใจ เอาใจ อย่างว่า พระมิ่งต้นปุนปากประโลมขวัญ วันนี้องค์มารมาต่างตาตนน้อง เหมือนจักเป็นเข็ยข้องโพยภัยบังเกิด จริงแล้ว เจ้าอย่าเดินด่านด้าวฮอยฮู้ฮูปหลง แท้แล้ว (สังข์). -
ประโลม
แปลว่า : เอาใจ อย่างว่า พิเศษแก้วโลมลูกสามศรี เทพาฮังฮืดปุนปองเฝ้า พอเมื่อแจวแจวฮ้องสูรลางลงคว่า สองพี่น้องเมือห้องอาบองค์ (สังข์). -
ประสงค์
แปลว่า : ความต้องการ ความมุ่งหมาย ความอยากได้ อย่างว่า ใจประสงค์สร้างกลางดงกะว่าท่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะว่าดง ใจประสงค์แล้วเมืองแกวกะดั้นฮอด ใจประสงค์ยอดแก้วในถ้ำกะก่นหา (ผญา). -
ประสบ
แปลว่า : พบ พบปะ พบเห็น อย่างว่า คันประสบพบพ้อคนบุญนักปราชญ์ นับมื้อใจส่องแจ้งทางเศร้าบ่มี (สังข์). -
ประสม
แปลว่า : ปน ระคน เจือ คละ รวมกันเข้า ผสมผเส ก็ว่า อย่างว่า สัพเพพร้อมปนสาวสมบ่าว ข้าเจ้าติ่วช้างชมหลิ้นม่วนไพร (สังข์). -
ประสาน
แปลว่า : เชื่อม ทำให้เข้ากันสนิท เชื่อมให้ติดกันเรียก ประสาน จอด ก็ว่า อย่างว่า คำก็เป็นคำแท้ชมพูมณีเทศ ใผห่อนติดต่อเข้าทองด้วงเชื่อมประสาน (บ.).