ภาษาอีสานหมวด "ป" 91 - 100 จาก 753
-
ปฐพี
แปลว่า : แผ่นดิน (ป. ปฐวี) อย่างว่า ภาคหนึ่งคือคู่ฟ้าฟางขาดแสงสูรย์ ปฐพีดลมืดมัวมีแจ้ง บัดนี้ภูมีเจ้ามาเปลืองปลดโทษ ล้างบาปเบื้องฝูงข้าขอบคุณ แท้แล้ว (สังข์). -
ปฐม
แปลว่า : ที่หนึ่ง ที่แรก เบื้องต้น (ป.) อย่างว่า ฮุ่งค่ำอื้ออามาตย์ชุมสนาม โดยเดิมกบิลชั่วลางปฐมเถ้า เชียงหลวงล้นระงมคนเค้าคื่น ทุกท่วยใต้ลุ่มฟ้ายำท้าวทอดทอง (สังข์). -
ปฐมกรรม
แปลว่า : ชื่อพิธีกรรมแบบหนึ่งซึ่งกษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้เป็นปรปักษ์ของตน. -
ปณม
แปลว่า : กราบไหว้ อย่างว่า เมื่อนั้นนิมนต์พร้อมสังโฆโฮมฮีบ ประดับนาคแล้วปณมเท้าที่ควร (สังข์) สุปีนังนั้นพระองค์ฝันเห็นหลาก แล้วท่อนี้ปณมไหว้ที่ยำ ก่อนแล้ว (สังข์). -
ป๊ด
แปลว่า : มีเสียงดังอย่างนั้น เช่น เชือกขนาดใหญ่ที่ถูกตัดหรือดึงขาด เสียงดังป๊ด. -
ปถพี
แปลว่า : แผ่นดิน อย่างว่า ช้างตื่นเต้นเต็มแผ่นปถพี (กา) อันแต่ลวงชายล้ำปถพีพื้นโลกเอานี้ ใผจักมามอดม้างมรณ์อ้ายอย่าหวัง (สังข์). -
ปทุม
แปลว่า : บัวหลวง เรียก ดอกปทุม ปทุมา ปัทุม ปัทุมา ก็ว่า (ป.). -
ปทุมมา
แปลว่า : มเหสีคนหนึ่งของพระเจ้ากุศราช ซึ่งกล่าวไว้ในหนังสือสังข์ศิลป์ชัยว่า เมื่อนั้นออระไหม่หน้านางนาฏปทุมมา ทูลธรรม์ยำซู่ล่วงเลยไหว้ ยังค่อยศรีเสถียรด้วยบุญคุณพระบาท แค้นเพื่อลูกจากเจ้าภายพุ้นพรากมา นี้แล้ว (สังข์). -
ปน
แปลว่า : เจือ คละ ประสม ระคน อย่างว่า ฟังยินซุงพาทพร้อมปนปี่แถมแก นางกะสิงประดับแกว่งแพนเฟือยฟ้อน เสียงฉันแก้วกินรีฮ้องฮ่ำ ประดับคาดฮ้อยเฮียงเส้นคาดคีง (สังข์). -
ประ
แปลว่า : ใช้เติมหน้าคำอื่น เพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็นประชิด จิด เป็นประจิด อย่างว่า ทรงเพศเพี้ยงประจิตฮูปกินรอน พระเกษาผมดั่งนิลนางย้อม ทรงกระจอนต้างเลาคำประดับดอก อินทร์แต่งพร้อมโฉมเจ้าลวดลง แลรือ (ฮุ่ง).