ภาษาอีสานหมวด "ป" 171 - 180 จาก 753
-
ปล้ง
แปลว่า : ชื่อหอยโข่งชนิดหนึ่ง เปลือกหอยคล้ายสีใบผักปล้ง เรียก หอยปล้ง. -
ปลงกรรมฐาน
แปลว่า : พิจารณาร่างกายให้ตกลงในไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามีในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ คือต้องลำบากทั้งกายและใจ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเราเขา. -
ปลด
แปลว่า : ปล่อย วาง เอาออก เช่น ปลดหาบ ปล่อยวางเบญจขันธ์ เป็นต้น ปลดบาตรจากบ่า เรียก ปลด อย่างว่า พระค่อยเยื้อนฮอดห้องหอราชมะฮามหลวง เจียมปรางค์ปลดบาตรดีดาตั้ง ใจเล่ายังกระสันแก้วเจ็ดนางแค้นคั่ง เข้าบาตรเจ้าบิณฑ์ได้ค่อยฉัน (สังข์) ยกโทษให้เรียก ปลดโทษ อย่างว่า บัดนี้ภูมีเจ้ามาเปืองปลดโทษ ล้างบาปเบื้องฝูงข้าขอบคุณ แท้แล้ว (สังข์). -
ปลวก
แปลว่า : เห็ดโคน ชื่อเห็ดชนิดหนึ่ง เกิดตามจอมปลวก หลังสีเขียว เรียก เห็ดปลวกใหญ่ อีกชนิดหนึ่งดอกเล็ก สีขาว เกิดตามพื้นดินทั่วไป เรียก เห็ดปลวกน้อย เห็ดปลวกไก่น้อย ก็ว่า. -
ปลวก
แปลว่า : มดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ชอบขนเอาดินมาทำรังเป็นโพน โพนก็คือ จอมปลวก อย่างว่า จอมปลวกอ้นขุดก่นเป็นโพน แม่นชิเป็นโพนสูงชั่วไกลเห็นแจ้ง คันบ่มีสาขาไม้ใบเขียวปกห่อ ก็บ่ดูอาจแท้โพนนั้นเปล่าแปน (กลอน) ฟองน้ำที่จับกันเป็นก้อนลอยอยู่เหนือน้ำ เรียก จูมปลวก ตูมปลวก ขี้ตูมปลวก ก็ว่า. -
ปลอก
แปลว่า : สิ่งที่ทำเป็นวง สำหรับสวมมีด เรียก ปลอกมีด สำหรับสวมขาเรียก ปลอกขา สวมแขน เรียก ปลอกแขน. -
ปล่อง
แปลว่า : ช่องทะลุเรียก ปล่อง เช่น ปล่องเฮือน ปล่องชาน ปล่องเอี้ยม. -
ปล่อง
แปลว่า : มะเดื่อปล้อง มะเดื่อที่มีใบสาก เป็นปล้องตล้ายปล้องไม้ไผ่ เรียก หมากเดื่อปล่อง. -
ปล่อง
แปลว่า : ทางน้ำไหล เรียก ปล่อง แปว ก็ว่า อย่างว่า อย่าให้เขินขาดแห้งต้นท่างปล่องชิไหล (กา). -
ปล้อง
แปลว่า : ชื่อหญ้าชนิดหนึ่ง เกิดในน้ำ เถาเป็นข้อๆ ในข้อมีไส้เป็นปุยสีขาว เรียก หญ้าปล้อง ลำไม้ไผ่หรืออ้อยที่เป็นข้อๆ เรียก ปล้องไม้ไผ่ ปล้องอ้อย รอยเป็นปล้องที่คอ เรียก ปล้องคอ.