ภาษาอีสานหมวด "ผ" 211 - 220 จาก 422

  • เผิน
    แปลว่า : ผิวๆ ผาดๆ ตื้นๆ.
  • เผียก
    แปลว่า : เส้นเชือกหรือหวายที่ทำเป็นราว เรียก เผียก ใช้ตากผ้าเรียก เผียกผ้า ใช้ตกเบ็ดเรียก เผียกเบ็ด อย่างว่า อัศดรไฟม้าใสหาบ่เถิงเผียก (ผาแดง).
  • เผียด
    แปลว่า : กั้นหรือปิดให้ปลาเข้าไซ อย่างว่า เมือบ่ได้แล้วขนแค่งพอฮ้วยปลา เมือบ่ได้แล้วขนขาพอฮ้วยเขียด ขนขี้แล้พอเผียดใส่ไซ (บ.).
  • เผียน
    แปลว่า : ภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ คล้ายกระด้ง สำหรับรองรับอาหาร เรียก เผียน กระเบียน ก็ว่า.
  • เผี่ยน
    แปลว่า : เปลี่ยน ผัด เปลี่ยนหรือผัดเรียก เผี่ยน เช่น เผี่ยนสิ่งของ เผี่ยนเวรยาม อย่างว่า ผัดเผี่ยนตั้งเวียนแวดเวรยาม (สังข์).
  • เผี้ยน
    แปลว่า : หมด สิ้น อย่างว่า เคือเคือเสียงนายแสงส่องคดีดูเผี้ยน (ฮุ่ง) ปืนล่วงล้ำผาเผี้ยนเกลื่อนกอง (สังข์).
  • เผียบ
    แปลว่า : เอาสิ่งหนึ่งมาเปรียบกับอีกสิ่งหนึ่ง เรียก เผียบ เผียบเทียบ ก็ว่า.
  • เผือ
    แปลว่า : ฉัน ข้า กู เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ อย่างว่า เผือจักทำการสร้างอันใดก็ลำบาก (บ.) เผือจ่งฟันเฮือไว้หลายลำแฮท่า หม่าเข้าไว้หลายบ้านทั่วเมือง (เสียว).
  • เผื่อ
    แปลว่า : ทำไว้เกิน เช่น จะกินสองคนเตรียมให้พอสามคน เรียก เผื่อ อย่างว่า เผื่อเหนือตกใต้ไหลลงมากะพอแม่น พร้าอี่โต้บ่เข้าให้ฟันเจิ้มแต่ไกล (ภาษิต).
  • เผือก
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ต้นและใบคล้ายบอน หัวกินได้ เรียก หัวเผือก.