ภาษาอีสานหมวด "ม" 161 - 170 จาก 860

  • มอม
    แปลว่า : สิงห์ดำ สิงโตดำเรียก มอม ลายที่สักตามแขนหรือขาเป็นรูปสิงโตเรียก ลายมอม อย่างว่า แต่นั้นท้าวคาดผ้าผืนดอกลายเครือ ของแพงมวลแม่เมืองประสงค์ให้ ลายเจือเกี้ยวสิงมอมเมียงม่าย ทรงอยู่เค้าดูเข้มคาบเหลียว (ฮุ่ง) พ่องก็ปุนมอมเมยม่ายชูชมชู้คงขวางโอ้ไพศาลแสนส่ำ มีดอกไม้บานห้อมหื่นหอม (สังข์).
  • มอม
    แปลว่า : เอาสีดำทาหน้าเรียก มอมหน้า.
  • มอย
    แปลว่า : มอง อย่างว่า มอยฝั่งน้ำแลน้องบ่เห็น (บ.).
  • ม้อย
    แปลว่า : อาการค่อยหลับไปจนตาย เรียก ม้อย อย่างว่า แม่หอดแห้งหิวม้อยมอดตาย (สังข์).
  • ม้อยระแม่ง
    แปลว่า : ตาย อย่างว่า คันบ่กูร์ณาอ้ายเห็นชิตายม้อยระแม่ง (ผาแดง).
  • มะ
    แปลว่า : เป็นสร้อยคำที่ปรุงแต่งคำให้สละสลวยขึ้น เช่น คำว่า งอ ได้แก่ คดๆ งอๆ แต่ปรุงเป็น มะงอ มะง้อง เป้นต้น คำว่า มะงอมะง้องที่ปรุงแต่งขึ้นก็คือคดๆ งอๆ นั่นเอง.
  • มะฮาม
    แปลว่า : ที่อยู่อาศัย วัด บ้าน เรียก มะฮาม อาฮาม ก็ว่า อย่างว่า สะเพือกพร้อมเนืองนอบนมัสการ เป็นแถวถันนอกเนืองในแหน้น โยธาตั้งเต็มมะฮามล้นแผ่น ทุกที่น้ำในหน้าเฟือดฟาย (สังข์).
  • มะเฮ็ง
    แปลว่า : มะเร็ง ชื่อโรคชนิดหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นรักษาให้หายยาก เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งในมดลูก มะเร็งลำไส้ อย่างว่า บุญหัวได้ขามะเฮ็งชิแบกแล่น หน้าแค่งเป็นแอกน้อยชิเอาไม้สอดคอน (กลอน).
  • มัก
    แปลว่า : ชอบ พอใจ ความรักใคร่ชอบใจ เรียก ความมัก อย่างว่า ความมักมากุ้ม กุ้มคือสุ่มงุมกะทอ ความมักมาพอพอคือกะทองุมฮั้ว เหลียวเห็นหมาเอิ้นกะบาท พออยากยิยิ่งยี้ในหม้องนั่งเหวียน (ผญา) มักบ่ได้เว้ามันบ่ส่วงความเหงา คันบ่เอากันสามันบ่ลืมความเว้า (กลอน).
  • มักกั๊ก
    แปลว่า : คนรูปร่างเล็กและเตี้ย เรียก สั้นมักกั๊ก.