ภาษาอีสานหมวด "ล" 201 - 210 จาก 601

  • ลำ
    แปลว่า : การขับร้องอย่างหนึ่ง มีดนตรี คือ แคนเป็นเครื่องประกอบ เรียก ลำ มีหลายอย่างต่างๆ กัน.
  • ล่ำ
    แปลว่า : ดู แล อย่างว่า ชาวนครคอยล่ำดูตากระด้าง (หน้าผาก) แยงในโฮงล่ำมณีตัวกล้า (กา) มีอ่าวเอื้อไลถิ้มบ่ล่ำคอย (กาไก) นายย่องเข้าเมือที่เกยขวาง ภูมีเลยล่ำเขาคนใช้ เถิงที่โฮงหลวงนั้นนายเซายุบนั่ง พระบาทไท้ทรงม้าวอยู่สูง (ฮุ่ง).
  • ล้ำ
    แปลว่า : ประเสริฐ ยิ่ง อย่างว่า มีคำขานยอดพระยาองค์ล้ำ (สังข์).
  • ล้ำ
    แปลว่า : ยิ่ง มาก เกิน อย่างว่า อันนี้เล่าเป็นทุกข์อันล้ำยิ่ง (เวส) เดินไกลพลัดพรากแพงนานล้ำ (หน้าผาก).
  • ล้ำ
    แปลว่า : ใกล้ จวน อย่างว่า อุตตโมแท้งายงามล้ำเที่ยง (กา).
  • ลำกลอน
    แปลว่า : การลำทำนองสั้นเรียก ลำกลอน เช่น กลอนเดินดง กลอนชมนก กลอนชมไม้ กลอนประวัติศาสตร์ กลอนภูมิศาสตร์.
  • ลำเกี้ยว
    แปลว่า : การลำทำนองสั้นเกี่ยวกับการเกี้ยวพาราสีกัน ชายเกี้ยวหญิง หญิงเกี้ยวชาย ชมความสวยงามของกันและกัน.
  • ลำคีง
    แปลว่า : ลำตัว ลำตัวของคน เรียก ลำคีง อย่างว่า ใหญ่บ่น้อยประมาณท่อลำคีง (สังข์).
  • ลำชิงชู้
    แปลว่า : การลำทำนองสั้น ชายหญิงเกี้ยวพาราสีกัน ชายหนึ่ง หญิงสอง หรือชายสองหญิงหนึ่ง ต่างเกี้ยวพาราสีชิงรักหักสวาทกัน กลอนใครดีคนนั้นก็ได้ชัยชนะ.
  • ลำดวน
    แปลว่า : ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ดอกมีรสหอม เรียก ต้นลำดวน อย่างว่า ลำดวนหอมดอกคะยอมบานแล้ง (สังข์).