ภาษาอีสานหมวด "ล" 211 - 220 จาก 601

  • ลำเต้ย
    แปลว่า : การลำทำนองยาวเอื้อนเสียงยาว แต่ใช้กลอนสั้นๆ เหมือนลำตัดโคราช มีชื่อเรียกต่างๆ กัน ทั้งนี้แล้วแต่ทำนองนั้นได้มาจากที่ไหน ก็ใส่ชื่อลงไป ได้มาจากอุบลก็ว่าเต้ยอุบล ได้มาจากหัวดอนตาลก็ว่า เต้ยหัวดอนตาล ได้มาจากศรีทันดอนก็ว่าเต้ยศรีทันดอน.
  • ลำพื้น
    แปลว่า : การลำประวัติ เรียก ลำพื้น เช่นพื้นเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบาง พื้นเมืองอุบล พื้นเมืองโคราช การลำพื้นเมืองนี้เริ่มแรกเป็นการเล่านิทานแบบพื้นบ้าน ต่อมาเพื่อให้สนุกจึงมีการเป่าแคนประกอบ เรื่องเล่าจะเกี่ยวข้องกับศีลธรรมในทางพระศาสนา เช่น เวสสันดร.
  • ล่ำเพอ
    แปลว่า : เอาใจใส่ อย่างว่า ติแต่ควายบักเลฮ้ายปักตูสวนบ่อัดฮี่ ติแต่แมงหมี่ฮ้ายตีนสิ่นบ่ล่ำเพอ (ย่า).
  • ลำเพา
    แปลว่า : โฉมงาม.
  • ลำแพง
    แปลว่า : หอก (ข.).
  • ลำยาว
    แปลว่า : การลำทำนองเอื้อนเสียงยาว เรียก ลำยาว ลำล่องของ ก็ว่า การลำยาวทำให้ผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลินเจริญใจ กลอนที่นำมาใช้ในการลำยาวจะเป็นกลอนอะไรก็ได้ แต่ผู้ลำต้องเอื้อนเสียงให้ยาว.
  • ล่ำแยง
    แปลว่า : ดูแล อย่างว่า ท้าวเที่ยวขึ้นปรางค์กว้างล่ำแยง (สังข์).
  • ลำสาด
    แปลว่า : การลำทำนองสั้น กลอนที่นำมาลำเป็นกลอนด่า หมอลำด่าหมอลำจะด่าเรื่องอะไร ด่าว่าอย่างไรเขาไม่ถือสาหาความ คนฟังก็ถือเป็นเรื่องสนุก ใครด่าเก่งถือกันว่าชนะ.
  • ลำหมู่
    แปลว่า : การลำตั้งแต่สี่ห้าคนขึ้นไป เรียก ลำหมู่ ลำเรื่อง ก็ว่า จะเอาเรื่องอะไรมาลำก็ได้ แบ่งหน้าที่กันถึงวาระของใครคนนั้นก็ออกมาลำ.
  • ล่ำหลิงดู
    แปลว่า : มองดู อย่างว่า เจ้าก็ทอดพระเนตรล่ำหลิงดู (เวส).