ภาษาอีสานหมวด "ล" 51 - 60 จาก 601
-
ล้มล่าว
แปลว่า : ล้มระเนระนาด เรียก ล้มล่าว ล่าวล้ม ก็ว่า อย่างว่า พลล่าวล้มเลียนเนื้อซูบแสน (กา) พลล่าวล้มตายเสี้ยงบ่หลอ (กาไก) เฮวเฮ่งเท้าทันง่อนงอยดู ผาขำเขินขาดพอพันเส้น คอยทางท้าวสังข์ทองเทียวผ่าน มีหมู่ไม้ล่าวล้มผาเผี้ยนชั่วตา (สังข์). -
ลมหลวง
แปลว่า : ลมใหญ่หรือลมที่พัดแรงเรียก ลมหลวง อย่างว่า หมู่หนึ่งฮู้แปรม้าง พะลานท่าวไคว่คอน เลาลมหลวงออกดังสองก้ำ เค็งเค็งท้อนธุลีแดนดับโลก ขันแปร่ม้างตางเจ้าฝ่ายขวา (สังข์). -
ลวก
แปลว่า : ไฟกระทบหรือถูกน้ำร้อนรด เรียก ลวก ลวกลน ลวบลน ก็ว่า อย่างว่า พระบาทท้าวมีอาจกลัวเกรง สน่อยนั้น ภูธรถอนแม่ธนูปุนเปื้อง หลังหักค้นครางตายฮ้องฮ่วน มันเล่ายังพ่นฟ้งไฟไหม้ลวบลน (สังข์). -
ลวง
แปลว่า : ฝาสำหรับดักปลาเรียก ลวงต้อน ลวงลี่ บอกระยะสั้น ยาว หนัก เบา หยาบ ละเอียด เรียก ลวง อย่างว่า เขาก็คึดใคร่ได้ดอมเจ้าซู่ลวง (กา) คองความต้านทุกลวงแหนฮ่าง (ฮุ่ง). -
ลวง
แปลว่า : นางนาค เรียก นางลวง อย่างว่า ก็เพื่อเทืองที่เหง้านอนแนบนางลวง นานไปเป็นลูกเนาเนาในท้อง พอเมื่อสาครบ้านางลวงลืมเพศ เทืองหน่ายหน้าแหนงซ้ำส่งหนี นางคราญค้นเอาลูกทังฮวย ฮองตองทึงห่อโยนยอให้ เทืองถวายอุ้มเอาเมือเมืองเก่า แม่บ่เลี้ยงบายถิ้มหน่ายหนี (สังข -
ลวง
แปลว่า : หลอก ล่อ ทำให้หลง การแสดงอาการหลอกล่อ เรียก ลวง อย่างว่า นางก็ทนทวงแค้นขนังลามล้นเจต คือดั่งหนาวก็ใช่ฮ้อนเผยผ้าห่มสะเทิน อันนี้จักแม่นเทวดาด้าวแดนใดลวงล่อ กูรือ เมื่อบ่ต้านไต่ถ้อยดีฮ้ายก็บ่เห็น แท้แล้ว (สังข์). -
ล่วง
แปลว่า : พ้น เลยเช่นสบประมาทเรียกล่วงเกิน -
ลวด
แปลว่า : ลายต่างๆ ลายเขียนหรือแกะสลักที่ถือว่าสวยงาม จะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะ ๒ ประการคือ เส้นของลายคือ ลวด ก็ให้สวย ลายก็ให้สวย ถ้าทั้งเส้นและลายสวยแล้วถือว่าสวยงาม อย่างว่า เบิ่งผ้าให้เบิ่งชาย เบิ่งลายให้เบิ่งลวด (ภาษิต) คือให้ดูเส้นของลายด้วย. -
ลวด
แปลว่า : เลย เช่น เลยไป เรียก ลวดไป เลยกิน เรียก ลวดกิน เลยนอนเรียก ลวดนอน อย่างว่า เมื่อนั้นยาวยอดแก้วพร้อมสู่ศาลสูง เมียงเมียงแสงจูดยามเยืองใต้ ยนยนข้าตาแลงลงแจก ฝูงไพร่พร้อมพาแล้วววดนอน (สังข์). -
ลวดลวด
แปลว่า : การกระทำโดยไม่ตั้งใจ เรียก เฮ็ดพอลวดลวด.