ภาษาอีสานหมวด "ล" 61 - 70 จาก 601
-
ลวน
แปลว่า : ทะลึ่ง ตีเสมอ ล่วงเกินหรือตีเสมอ เรียก ลวน ลวนลาม ลวนล้อ ก็ว่า อย่างว่า อันหนึ่งอย่าลวนล้อราชาเกินกาจ นั้นเนอ (หน้าผาก). -
ล้วน
แปลว่า : ทั้งหมด ทั้งสิ้น ทุกสิ่งทุกอย่าง เรียก ล้วน อย่างว่า อยากได้ไม้บ้านเจ้าไปสานข้องลายสองคือชิค่อง ไม้บ้านข้อยมีบ่แพ้ลำล้วนบ่ถืกตา (ผญา). -
ล้วนค้วน
แปลว่า : อาการขดเป็นวง เช่น ค้วนหม้อ ค้วนอุแอ่งน้ำ เรียก ขดล้วนค้วน. -
ลวบ
แปลว่า : ไฟลนเรียก ไฟลวบ อย่างว่า เถิงระดูเดือนห้าเมษาฮ้อนเฮ่ง บ่มีหนาวมีแต่ฮ้อนไฟไหม้ลวบลน (กลอน). -
ลวบลวบ
แปลว่า : กินพร่ำเพรื่อ เรียก กินลวบลวบ พูดไม่หยุด เรียก เว้าลวบลวบ. -
ลวย
แปลว่า : ได้มาก มีมาก คนได้ข้าวของเงินทองมาก เรียก คนลวย ลวยจนเหลือกินเหลือใช้ เรียก มหาละลวย. -
ลวา
แปลว่า : ม้าหรือลาเรียก ลวา ถ้าใช้ขับขี่ไปในราชการของเจ้านายเรียก ม้า เช่น พระยากุศราชเจ้าเมืองนครเป็งจาลใช้ขุนศรีและขุนคอนไปสู่ขอลูกสาวนันทเศรษฐี ณ นครจำปา ก็ใช้ลวาคือม้าเป็นพาหนะ อย่างว่า กับทังชาวจงลวาฮีบเฮวพลันม้า (สังข์). -
ลวาด
แปลว่า : ปู ลาด ปูเสื่อเรียก ลวาดเสื่อ ปูสาดเรียก ลวาดสาด ปูแพรเรียก ลวาดแพร อย่างว่า พลพวกเท้าเดินดุ่งดาระวัง บัวนางถือเครื่องธรงแถวถ้อง แยงหนห้องราชครูเถรใหญ่ แผ้วแผ่นกว้างปูล้วนลวาดแพร (สังข์). -
ลวาพอน
แปลว่า : ม้าขาว เรียก ลวาพอน อย่างว่า ฮมฮมเสียงลวาพอนหมื่นตัวเตินเต้า (สังข์) สองนายขึ้นลวาพอนเลยล่วง (ฮุ่ง). -
ลวาแมน
แปลว่า : ม้ามณีกาบเรียก ลวาแมน ม้ามณีกาบเป็นม้าที่พระอินทร์เนรมิตประทานให้แก่ผู้มีบุญ เช่น กาลเกต คนไม่มีบุญจะไม่ได้ขี่ม้านี้ ในวรรณคดีอีสานเรื่องกาลเกต ท้าวกาลเกตจะไปที่ไหนก็ขี่ม้ามณีกาบหรือลวาแมนนนี้ อย่างว่า ก็จิ่งธรงลวาแมนล่วงลมมาพี้ (กา).