ภาษาอีสานหมวด "ล" 81 - 90 จาก 601
-
ล่อง
แปลว่า : ลงไปตามน้ำ เรียก ล่องน้ำ อย่างว่า คาดชิได้ไหลมาอ่องล่อง คาดชิบ่ได้ไหลน้ำล่องหนี (ภาษิต) เชื้อชาติจ้องคันก่อนกะยังหุบ บาดห่าชาตาหลุบหลูบลงคือจ้อง บาดห่าชาตาขึ้นขวางคือขอนกะเลยล่อง คาดชิล้มหยุบหญ้าบ่ฟัง (กลอน). -
ล่อง
แปลว่า : เผาเหล็กแดงๆ แทงเข้าลำไม้ไผ่เรียก ล่องพุ. -
ล้องค้อง
แปลว่า : ขด งอ เชือกที่ขดให้เป็นบ่วงขนาดเล็ก เรียก ขดล้องค้อง ขนาดใหญ่ว่า งอโล้งโค้ง อย่างว่า งามล้องค้องสองแก้มดั่งคำ (ขุนทึง). -
ลอด
แปลว่า : ผ่านเข้าไปในช่อง หรือใต้สิ่งที่มีพื้นหรือสิ่งที่ขวางอยู่เบื้องบน เช่น ลอดรั้วเรียกลอดฮั้ว อย่างว่า ก้มลอดฮั้วหมากถั่วแทงตา มืนตาขึ้นหมากสีดาหล่นใส่ นั่งย่องย้อเครือกล้วยทั่งหัว (กลอน) พี่อยากถามข่าวเถิงกกโกส้ม กกหมากยมเฮาเคยลอด มีผู้หักง่าชันฟันง่าเนิ้ง ตายเฟื้องเคิ่งลำแล้วบอ (ผญา). -
ลอดช่อง
แปลว่า : ชื่อนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งใช้กดลงในกระโหลกที่มีช่องไหลออกเป็นตัวๆ กินกับน้ำกะทิเรียก เข้าลอดช่อง. -
ลอน
แปลว่า : นึก คิด อย่างว่า ลอนบ่เป็นประโยชน์แท้ผิดฮ่อมอวิสัย ควรกูไลนครเสียบวชสมณ์แสวงดั้น ผิจักเป็นคหัสถ์ฮู้โพยมีพันเยื่อง เยียวจักแค้นคั่งไหม้หมองต้องตื่มมา (สังข์). -
ลอน
แปลว่า : บังเอิญ เผอิญ เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คิดล่วงหน้าว่ามันจะเกิดขึ้นเรียก ลอน ทะลอน ก็ว่า อย่างว่า จวงจันทน์คู้ทะลอนหอมแต่มื้อใหม่ มื้อเก่ามาล่วงล้ำจันทน์คู้ก็เล่าเหย จวงจันทน์คู้ทะลอนหอมเหยกลิ่น แมงภู่เผิ้งชมชั้วชอบใจจวงจันทน์คู้ทะลอนหอมแต่มื้อใหม่ บาดว่ากลั้วกลิ่นส้มชมแล้วก็เล่าเหย (ย่า). -
ลอบ
แปลว่า : ชื่อเครื่องดักปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาห่างๆ มีงาที่ปาก วางไว้ทางน้ำไหล เรียก ลอบ อย่างว่า เมื่อจักไขรหัสต้อนชิเคืองปลาเขินลอบไซตี้ บ่ได้เคืองแต่ต้อนคูนค้าวก็หากเคือง (สม). -
ลอบ
แปลว่า : หลบเพื่อไม่ให้ใครรู้เรียก ลอบ ลอบดูเรียก ลอบมอง จอบ ก็ว่า อย่างว่า มันก็ใส่ชื่อน้อยนางนาฏศรีดาจันทร์ โฉมเสงี่ยมงามเงือนพรหมภายฝ้า เลยเล่าปราเกียรณ์เท้าเถิงนครเมืองนาค ขาท่านท้าวทองล้านลอบเล็ง (สังข์). -
ลอบลัก
แปลว่า : ลักเอาโดยไม่ให้เห็น เรียก ลอบลัก หนีไปโดยไม่ให้ใครเห็นเรียก ลักหนี อย่างว่า หลานจักพาดุ่งดั้นลักลอบมันหนี ดังนั้นอาจักตายกลางทางบ่คองคืนได้ หลานจ่งขันดีเยื้อนทันเอาได้สั่ง มันเถิ้น ผิดชอบไว้หลานหล้าโผดอา ก่อนเถิ้น (สังข์).