ภาษาอีสานหมวด "ว" 161 - 170 จาก 408

  • วาณี
    แปลว่า : ถ้อยคำ ภาษา (ป.ส.).
  • วาด
    แปลว่า : ท่าทาง ลักษณะแบบอย่าง อย่างว่า อ้ายนี้ชกงกบถืกโสก โซกโลกบถืกตา หมากสีดาบ่แม่นไท้ ไทไกลจั่งแม่นวาด อ้ายนี้ซกงกบ่ถืกตา หมากสีดาบ่ถืกแข้ว หัวมันแกวบ่ถืกปั้นเข้าใหญ่ (กลอน).
  • วาด
    แปลว่า : ร่างลวดลายหรือการเขียนรูป อย่างว่า คือดั่งพรหมวาดไว้แมนฟ้าฮูปเดียว (กา).
  • วาด
    แปลว่า : พายเรือจ้วงน้ำเข้ามาหาตัว เรียก วาด อย่างว่า ขัดถืกเววาดท้ายหัวพี่หากชินำ (สุด).
  • วาดา
    แปลว่า : ลม อย่างว่า วันลั่นใกล้ฟ้าเฝียดวาดา เมื่อนั้นเจืองหาญกลอยกล่าวความแควนเผี้ยน สูเยียะดาพลพร้อมภายเฮาฮบก่อน นับท่อเมี้ยนจมแล้วดั่งรือ (ฮุ่ง).
  • วาตะ
    แปลว่า : ลม วาตะ วาตา ก็ว่า (ป.ส.) อย่างว่า แม้นหนึ่งสุรพางฮ้อนวาตาเฮืองราช (ฮุ่ง).
  • ว่าต่าง
    แปลว่า : ว่าความแทนโจทก์.
  • วาทกะ
    แปลว่า : ผู้ประโคม ผู้บรรเลงดนตรี นักดนตรี (ส.).
  • วาทนะ
    แปลว่า : การประโคม การบรรเลงดนตรี (ส.).
  • วาทย
    แปลว่า : เครื่องประโคม เครื่องบรรเลง เครื่องเป่า เรียก วาทย์ วาทย์ ก็ว่า (ส.).